แหล่งเงินได้ จากสวัสดิการยามเกษียณ…


แหล่งเงินได้ จากสวัสดิการยามเกษียณ...

การเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณ ถือเป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่ต้องวางแผนเก็บเงินและเตรียมรับมือด้วยตนเองก็จริง แต่ปัจจุบันก็ยังมีสวัสดิการที่ช่วยให้ชีวิตหลังเกษียณได้เข้าใกล้ความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่ง แหล่งเงินได้จากสวัสดิการยามเกษียณที่ควรรู้ ได้แก่

1) เงินช่วยสมทบ

พนักงานประจำบริษัทเอกชน ที่นายจ้างมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ให้เป็นทางเลือกในการเก็บออมภาคสมัครใจนั้น นอกจากช่วยให้ลูกจ้างมีการออมอย่างสม่ำเสมอและออมเพิ่มขึ้นตามฐานเงินเดือนแล้ว ยังมีนายจ้างช่วยออมเพิ่มให้ในรูปแบบของเงินสมทบด้วย โดยเงินก้อนที่ได้จาก PVD จะได้รับการยกเว้นภาษีหากลูกจ้างเกษียณอายุหรือนำเงินออกจาก PVD หลังอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยเป็นสมาชิก PVD มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี สำหรับข้าราชการ ที่รับราชการหลัง 27 มี.ค. 2540 ถือเป็นภาคบังคับที่ต้องออมเงินอย่างสม่ำเสมอและออมเพิ่มขึ้นตามฐานเงินเดือน เข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งมีภาครัฐช่วยเก็บเพิ่มในรูปแบบเงินสมทบด้วย โดยเงินก้อนที่ได้จาก กบข. นี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเมื่อเกษียณตอนอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือลาออกจากราชการตอนอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป  

2) เงินบำเหน็จหรือเงินก้อน

พนักงานประจำบริษัทเอกชน เมื่อเกษียณอายุถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีความผิดจึงต้องได้รับเงินก้อนซึ่งเป็นเงินชดเชยตามกฎหมาย โดยจำนวนเงินที่ได้ขึ้นอยู่กับอายุงานที่ได้ทำงานกับนายจ้างนั้นมา สำหรับเงื่อนไขอายุเกษียณจะขึ้นกับข้อบังคับของแต่ละนายจ้าง แต่หากนายจ้างไม่ได้กำหนดไว้หรือกำหนดไว้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ลูกจ้างสามารถแจ้งนายจ้างเพื่อขอเกษียณได้เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำหนดเงื่อนไขการได้รับเงินกรณีถูกเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ ในจำนวนเงินที่สอดคล้องกับพนักงานบริษัทเอกชนเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

พนักงานประจำบริษัทเอกชน เมื่อเกษียณอายุถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีความผิดจึงต้องได้รับเงินก้อนซึ่งเป็นเงินชดเชยตามกฎหมาย โดยจำนวนเงินที่ได้ขึ้นอยู่กับอายุงานที่ได้ทำงานกับนายจ้างนั้นมา สำหรับเงื่อนไขอายุเกษียณจะขึ้นกับข้อบังคับของแต่ละนายจ้าง แต่หากนายจ้างไม่ได้กำหนดไว้หรือกำหนดไว้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ลูกจ้างสามารถแจ้งนายจ้างเพื่อขอเกษียณได้เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำหนดเงื่อนไขการได้รับเงินกรณีถูกเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ ในจำนวนเงินที่สอดคล้องกับพนักงานบริษัทเอกชนเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

สำหรับข้าราชการ เงินบำเหน็จที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุ ขึ้นกับอายุงานหรืออายุราชการเช่นกัน ซึ่งจำนวนเงินที่ได้รับจะเท่ากับ “เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนปีเวลาราชการ” โดยเศษของปี ตั้งแต่ครึ่งปีขึ้นไป ให้นับเป็นหนึ่งปี

เงินบำเหน็จหรือเงินก้อนที่ได้รับ ไม่ว่าจะพนักงานเอกชนหรือข้าราชการ เมื่อได้รับแล้วยังมีภาระต้องยื่นภาษีด้วย ซึ่งอาจคำนวณรวมกับรายได้อื่นหรือแยกคำนวณภาษีโดยใช้ใบแนบ แล้วแต่กรณี

3) เงินบำนาญ

พนักงานประจำบริษัทเอกชน ที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมทุกเดือน หากจ่ายมาแล้ว 180 เดือนขึ้นไป (15 ปีขึ้นไป) และเกษียณอายุไม่น้อยกว่าอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำนาญจากประกันสังคมทุกเดือนซึ่งได้รับการการยกเว้นภาษี โดยจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับขึ้นกับฐานเงินเดือนเฉลี่ยก่อนเกษียณและระยะเวลาที่จ่ายประกันสังคม ซึ่งคำนวณได้จากสูตร

เงินบำนาญ = [20% + ( จำนวนปีส่วนที่จ่ายเกิน 180 เดือน* X 1.5% ) ] x เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย**

   * เศษของระยะเวลาที่น้อยกว่า 12 เดือน ไม่นำมาคำนวณ

   ** คำนวณตามฐานเงินเดือนจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

   *** กรณีจ่ายประกันสังคม น้อยกว่า 180 เดือน ได้รับเป็นเงินบำเหน็จหรือเงินก้อน

สำหรับข้าราชการ เงินบำนาญที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุ ถือเป็นเงินได้ 40(1) ที่ต้องยื่นภาษีเสมือนเป็นเงินเดือน ซึ่งจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับขึ้นกับฐานเงินเดือนก่อนเกษียณและจำนวนปีเวลาราชการ โดยเงินบำนาญที่ได้รับสำหรับผู้ที่รับราชการหลัง 27 มี.ค. 2540 คำนวณได้จากสูตร

บทสรุป

เพราะฉะนั้น ถ้าใครกำลังคิดถึงเรื่องชีวิตหลังเกษียณอยู่ อาจต้องลองพิจารณาให้ดีว่า วิธีการวางแผนแบบเดิมๆ นั้น จะยังสามารถใช้ได้อยู่หรือไม่ มีอะไรต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับโลกอนาคต มากน้อยแค่ไหน คุณค่าของการใช้ชีวิตและประสบการณ์คืออะไร อยู่ตรงไหน”

Share On :

Scroll to Top