%ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ชีวิตจริง 100 ปีแทบไม่เคยเกิดขึ้น

หากเลือกจัดพอร์ต

ลงทุนระยะยาว ไม่ว่าจะหุ้นหรือกองทุน เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องได้เจอกับตัวเลข “ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี” เช่น กองทุนหุ้น X มีผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 12% ต่อปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พอเห็นดังนี้ ก็อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าเราลงทุนตอนนี้ ถือไปสักปีนึง ก็น่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนประมาณ 12% ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงสินะ
เอาจริง ๆ ตามสถิติ ตัวเลขผลตอบแทนเฉลี่ยเหล่านี้แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น ในแต่ละปี
โดยในช่วงปี 1926 – 2016 ตลาดหุ้นสหรัฐ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10.2% ต่อปี และมีเพียง 6 ใน 91 ปีเท่านั้นที่ผลตอบแทนในปีนั้น ๆ อยู่ในช่วง 8 – 12% หรือมีโอกาสเกิดขึ้นแค่ประมาณ 6.5% เท่านั้น
สินทรัพย์อื่น ๆ ก็ให้ผลไม่ต่างกัน เช่น ตราสารหนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.3% แต่มีเพียง 29% เท่านั้นมีผลตอบแทนต่อจะตกอยู่ในช่วง 3%-7% (ตราสารหนี้ ผันผวนต่ำกว่าหุ้น โอกาสอยู่ในกรอบ +/- 2% จึงมากกว่า)
ยิ่งโอกาสที่สองสินทรัพย์จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยได้ในปีเดียวกัน แทบเป็นศูนย์
หากถามว่าทำไม ?

เหตุผลแรก

ผมขออ้างอิงจากหนังสือ Mastering the Market Cycle ของ Howard Marks สรุปสั้น ๆ ว่า การเคลื่อนไหวของตลาดทุน สินทรัพย์ หรือแม้แต่อารมณ์ของนักลงทุน เคลื่อนไหวเป็นวัฏจักร ต่ำสุด > สูงสุด > ต่ำสุด วนไปเรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด เหมือนลูกตุ้นนาฬิกาที่แกว่งไปมา ลูกตุ้มแทบจะหยุดนิ่งในตำแหน่งที่สุดปลายทั้ง สองด้าน แต่จะมีความเร็วสูงที่สุดเมื่อผ่านจุดศูนย์กลาง เปรียบเหมือน โมเมนตัมของตลาดที่ ช่วงกลับตัว แรงซื้อ (ขาย) จะไม่ได้มากมายอะไร แต่จะสะสมและเร่งตัวเต็มที่เมื่อราคาวิ่งข้ามเส้นค่าเฉลี่ยกลับไปสู่อีกข้างหนึ่ง เพราะฉะนั้น นักลงทุนไม่ควรคาดหวังว่าผลตอบแทนจะออกมาเท่าค่าเฉลี่ยในแต่ละปี มันจะเหวียงข้ามไป ข้ามเสมอ
อีกเหตุผลหนึ่ง คือ มุมมองส่วนตัว ผมเชื่อว่าการลงทุน จะกำไรหรือไม่อยู่ที่ โอกาสการเติบโตในอนาคต ไม่ใช่ในอดีต อาจจะเกี่ยวบ้างเพราะผลตอบแทนย้อนหลังช่วยบอกถึงกรอบคร่าว ๆ แนวโน้มที่ผ่านมา แต่ปัจจัยส่วนใหญ่จะเริ่มหลังจากคุณลงทุนแล้วมากกว่า ของเคยดี ไม่ใช่ว่าจะดีต่อ ในทางกลับกันของที่ยังซึมเงียบหลายปี อาจพุ่งพรวด ๆ ก็มีให้เห็นบ่อย เพราะฉะนั้นตัวเลขเฉลี่ยในอดีต จะไม่สามารถบอกอะไรได้มากนัก เพราะยังไม่ครอบคลุมถึงมุมมองเชิงคุณภาพ ที่ต้อง Forward Looking ไปดู Growth Story

รู้อย่างงี้ แล้วจะใช้ประโยชน์จาก ผลตอบแทนเฉลี่ย (Average Return%) ยังไงได้บ้าง ?

1. ยามตลาดดี ใช้เป็นจุดขายบางส่วน หรือขายส่วนที่กำไร ออกมาพักไว้ก่อนได้ ถ้าจะไปต่อจากนี้ก็โอเค แต่ถ้ามันจะกลับสู่ค่าเฉลี่ย จะได้ไม่เจ็บใจ รู้งี้
2. ยามตลาดแดง ใช้เป็นเครื่องมือปลอบปะโลม ไม่ให้ตกใจขายไปที่ก้น เพราะถ้าถือสินทรัพย์กระจายตัว มีคุณภาพมากพอ (เช่น Global Equity) ระยะยาวน่าจะกลับมาค่าเฉลี่ยได้
3. ยามลงทุนระยะยาว ใช้เป็นตัวเลขสำหรับวางแผนการเติบโตของเงินลงทุนว่าเข้าเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ แทนที่จะใช้ตัวเลขในช่วงเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจไม่สะท้อนความจริงในระยะยาวได้

บทสรุป

ฝากไว้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน การจัดพอร์ต ที่เราต้องอยู่กับเค้าไปอีกนานครับหมายเหตุ ข้อมูลสถิติถึงปี 2016 ก็จริง แต่นับจากนั้นจนถึงปัจจุบัน เจอ Trump + Mega QE + COVID-19 เข้าไป ผมคิดว่าความจริงก็ข้อนี้ ยังไม่เปลี่ยน กลับหนักแน่นขึ้นด้วยครับ

Share On :

Scroll to Top