ใช้เงินไม่ยั้ง? เต็มที่วันนี้พรุ่งนี้ว่ากันใหม่

มีเงิน แต่ถ้าจัดการไม่ดี ซักวันก็จะหมดไป…..

อย่างที่หลายๆ คนทราบว่า การออมเงินเพื่อการเกษียณนั้นเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งการสร้างความมั่นใจให้กับการเงินของตัวเองในอนาคตเท่านั้น แต่อยากให้มองถึงอีกเรื่องหนึ่งก็สำคัญไม่แพ้กันคือ การตัดสินใจ ในการจะถอนเงินเพื่อจะนำออกมาใช้นั่นเองบางคนอาจจะคิดว่าเรามีเงินก้อนใหญ่ที่มาจากการหามาทั้งชีวิต จึงอยากจะใช้ให้เต็มที่กับเวลาที่เหลือ เพราะไหนๆ ก็อุส่าเหนื่อยหามาแล้ว นั่นถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ได้ผิดอะไรถ้าจะทำเช่นนั้น แต่สิ่งที่ควรจะตระหนักไว้ก่อนจะนำเงินออกมานั่นก็คือ เราควรวางแผนและนำมาปฏิบัติ เช่น เราจะมีแผนในการนำเงินออกจากบัญชีเกษียณอายุใช้อย่างไร เอาออกมาเท่าไหร่ และเมื่อไหร่ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีช่องทางและวิธีการเพิ่มพูนสินทรัพย์ให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แก่ผู้เกษียณอายุทั้งหลาย เราจะมาบอกถึงกลยุทธ์หรือเคล็ดไม่ลับสำหรับการถอนเงินออกมาใช้ให้เข้าใจ ถ้าหากใครยังไม่เกษียณก็สามารถรู้ไว้เพื่อเตรียมตัวสำหรับในอนาคตได้

กฎ 4%

เป็นการถอนเงินในอัตราส่วน 4% ของจำนวนเงินในพอร์ตเรา โดยพอร์ตเราควรจะมีสัดส่วนที่เป็นหุ้นอยู่ 60% และ 40% เป็นตราสารหนี้ โดยการจัดพอร์ตแบบนี้ นอกจากจะทำให้เรามีเงินใช้ไปตลอดระยะเวลา 30 ปีในช่วงเกษียณแล้ว เงินของเรายังเติบโตและยังเอาชนะอัตราเงินเฟ้อ อีกทั้งยังมีเงินคงเหลืออยู่ในพอร์ตอีกด้วย ถ้าสมมติว่านาย A เกษียณอายุและไม่มีเงินเดือนแล้วแต่มีเงินก้อนจาก เงินออมอยู่ที่ 5,000,000 บาทถ้วน และถ้าหากใช้กฎ 4% ข้างต้น นาย A จะสามารถถอนเงินเพื่อนำออกมาใช้ 200,000 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งหลังจากถอนเงินก้อนแรกออกมาแล้ว จะเหลือเงินอยู่ที่ 4,800,000 บาท นาย A ตัดสินใจนำเงินไปลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้น ที่จะได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ปีละ 7% และในปีต่อมา นาย A ก็ได้ถอนมาอีก 200,000 บาท แต่จะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อไปอีก 3% ซึ่งเท่ากับ 6,000 บาท รวมเป็นเงินที่จะถอนทั้งหมด 206,000 บาท และในปีต่อมาก็จะเพิ่มไปอีก 3% จากปีที่แล้วทบกันต่อไปเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี

ถอนเงินอย่างคงที่

ผู้สูงอายุบางคนจะมีวิธีในการนำเองเงินออกมาใช้อย่างคงที่หรือถอนเงินออกในยอดเดิมๆ เช่น การที่ฝากเงินไว้ในกระปุกออมสิน และถอนเงินเมื่อจำเป็นเพียงเท่านั้น หรือไม่ถอนเงินออกจากบัญชีเลยถ้าไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือการ ถอนเงินจำนวนเท่ากันในทุกๆ เดือน ไตรมาส หรือปี นั่นจะง่ายต่อการดูค่าใช้จ่ายมากกว่า อีกทั้งยังเป็นการตีกรอบรายจ่ายให้อยู่ในวงเงินที่เราถอนออกมาใช้เท่านั้น รายจ่ายจะไม่บานปลาย แต่ถ้าเป็นกรณีถอนเมื่อจำเป็นนั้น ต้องกล่าวว่าความจำเป็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกับคำว่า “ของมันต้องมี” ถ้าเราเห็นนั่นโน่นนี่จำเป็นไปหมด รู้ตัวอีกทีเงินคงหมดบัญชีไปแล้ว

เอาเงินจากปันผลมาใช้

สำหรับผู้ที่ลงทุนเอาไว้ใน กองทุน หุ้น พันธบัตร หรือตราสารหนี้ต่าง คือ ซึ่งวิธีนี้เราจะไม่มีการถอนเงินออกจากพอร์ตหรือการลงทุนเลย เพื่อเป็นการคงต้นทุนเพื่อรับปันผลให้เท่าเดิมหรืออาจจะมากกว่าเดิมดังนั้นเงินที่จะสามารถนำออกมาใช้ได้คือ เงินที่มาจากการจ่ายดอกเบี้ย หรือปันผลในเดือน ไตรมาส หรือปีนั้นๆ นั่นเอง ซึ่งถึงจะฟังแล้วอาจจะฟังดูดีถ้ามีเงินลงทุนเยอะก็รอใช้เงินแบบชิลๆ แต่คุณต้องตระหนักว่า วิธีนี้รายได้ของเราจะไม่มั่นคง เพราะรายได้เราจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของการลงทุนที่เรานำไปลงไว้

ใช้การจัดลำดับบัญชีสำหรับใช้จ่าย

เมื่อถึงเวลาตอนถอนเงินเราก็ต้องถอนออกมาอย่างเป็นระบบ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้ามคือ เราควรจะรู้ว่าควรถอนเงินออกจากบัญชีไหน หรือถ้าจะนำเงินไปใช้ผ่านบัตรเครดิตต่างใช้บัตรใด ที่จะได้สิทธิประโยชน์หรือนำไปลดภาาีให้ได้มากที่สุด บางทีวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผุ้เกษียณอายุ อาจจะเป็นการถอนเงินออกจากบัญชีออมทรัพย์และบัญชีในการลงทุนเพื่อนำมารวมกันก็ได้

บทสรุป

วิธีการนั้นมีหลากหลาย ดังนั้นคุณต้องเป้นคนตัดสินใจเองว่าคุณเหมาะกับวิธีไหนมากที่สุด โดยไม่ฝืนและขัดกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง วิธีการนั้นจะได้ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Share On :

Scroll to Top