คุณเคยสงสัยมั้ยว่า “หุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีมันหน้าตาเป็นยังไง”

สงสัยกันว่าไม่มีใครไปศึกษาย้อนดู

เลยเหรอว่าหุ้นที่มีลักษณะแบบไหนให้ผลตอบแทนดีกว่า มันน่าจะมีลักษณะบางอย่างที่สังเกตได้รึป่าว แล้วสมมติถ้าเรารู้ว่าหุ้นที่ผลตอบแทนดีคือหุ้นอะไร เราก็จะได้เทลงไปทางนั้น

คำตอบคือมีครับ

มีคนศึกษาเรื่องนี้จริงจัง และนั่นคือหัวข้อสิ่งที่เราจะคุยกันในวันนี้ เราจะมาเล่าเรื่องราวของความพยายามในการศึกษาลักษณะของหุ้นกันครับ

📌 แรกเริ่มสุดเลยไอเดียที่มีคนเสนอก็คือ ปัจจัยที่จะทำให้หุ้นมีผลตอบแทนสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด มันน่าจะเป็นเรื่องความเสี่ยงนะ ถ้าหุ้นไหนที่ความเสี่ยงสูงผลตอบแทนที่คาดหวังก็ควรจะสูง หรือหุ้นไหนที่ความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนที่คาดหวังก็ควรจะต่ำ 

📌 ในความเป็นจริงแล้วความเสี่่ยงควรจะเป็น “โอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของเงินต้นที่ลงทุนไปอย่างถาวร”  แต่เนื่องจากเราก็ไม่รู้จะวัดยังไง คนเราก็เลยเสนอว่าเราใช้ Proxy ( ความผันผวนของราคาหุ้น ) แทนละกัน ซึ่งจริงๆ “ความผันผวนของราคาหุ้น” กับ “โอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของเงินต้นที่ลงทุนไปอย่างถาวร” นั้นไม่เหมือนกัน เพราะ ”ความผันผวนของราคาหุ้น” เป็นข้อมูลที่สามารถวัดได้ง่าย ซึ่งน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าอนาคตของหุ้นมันไม่ค่อยแน่นอน ความเห็นของนักลงทุนไม่ค่อยตรงกัน เลยเป็นเหตุให้ราคาหุ้นที่คนเข้าซื้อไม่ค่อยจะตรงกัน ดังนั้นเราก็น่าจะหยิบยกมาเป็นตัวที่สื่อถึงความเสี่ยงได้

📌 สุดท้ายมันก็เลยกลายเป็นวิธีการวัดความเสี่่ยงของการลงทุนที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ไอเดียในเวลานั้นคือถ้าหุ้นไหนราคาผันผวนสูงกว่าตลาดโดยเฉลี่ย ก็จะตีความว่าความเสี่ยงจุดนี้สูงกว่า และก็ควรคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า ถ้าหุ้นไหนราคาผันผวนต่ำกว่าตลาดโดยเฉลี่ยก็คือความเสี่ยงต่ำกว่าและก็ควรคาดหวังผลตอบแทนที่ต่ำกว่า หรือว่าง่ายๆคือถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนที่สูง ให้เราลงทุนในหุ้นที่ความผันผวนสูงนั่นเอง ซึ่งอันนี้ก็กลายมาเป็น Capital Asset Pricing Model หรือก็คือ CAPM ที่มีชื่อเสียงครับ

 

📌 CAPM model

สามารถทำงานได้ดีระดับนึง แต่ยังไม่สมบูรณ์พอ เพราะมันยังมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากความผันผวนของราคาหุ้นที่มีผลต่อผลตอบแทนอีก ดังนั้นจึงเกิดความพยายามที่จะพัฒนาโมเดล และหาความสัมพันธ์เพิ่มเติมว่าสรุปมีตัวแปรไหนอีกกันนะ ?

📌 ในปัจจุบัน

ตัวแปรที่อธิบายผลตอบแทนของหุ้นนี่เค้านิยมเรียกกันว่า Factor ซึ่งบาง Factor ก็มีความสามารถใช้ในการอธิบายผลตอบแทนของหุ้นได้ แต่ไม่ได้ว่ามีผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด เช่น Growth กับ Liquidity แต่บาง Factor เค้าก็พบว่ามันผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยตลาดในระยะยาว ซึ่ง Factor เหล่านั้นก็คืออะไร สามารถดูได้ที่รูปด้านล่างนี้

บทสรุป

** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยบทความนี้มิใช่สิ่งชี้นำซื้อขายการลงทุนแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงแค่การให้ความรู้และข้อมูลที่ช่วยให้เพิ่มมุมมองในการลงทุนเท่านั้น **

Resource : MSCI , http://bblectures.com

Share On :

Discover more from

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Scroll to Top