Stagflation มันคือะไร มีโอกาสเกิดไหม ?

Actual Stag

อะไรคือ Stagflation ?

🤓 ช่วงที่ผ่านมาในข่าวเราเริ่มได้ยินคนพูดถึง Stagflation บ่อย บทความนี้เราคุยเรื่องนี้กันครับ ว่ามันคืออะไร แล้วมันมีความหมายยังไงกับการลงทุนของเรา

คำนี้มาจากไหน

คำว่า stagflation นี่มันมาจากคำว่า stagnation ที่แปลว่าหยุดพัฒนาอยู่กับที่ กับ inflation คือเงินเฟ้อ ดังนั้น stagflation ก็คือสภาพเศรษฐกิจที่มีทั้งเศรษฐกิจไม่ค่อยโตหรือถดถอยรวมกับเงินเฟ้อที่สูง โดยรวมเป็นสภาพเศรษฐกิจที่ถือว่าไม่ดี ประชาชนมีความลำบาก เพราะเศรษฐกิจไม่โตรายได้ไม่โตในขณะที่ข้าวของแพงขึ้น
 
💵 จากมุมมองของคนที่ดำเนินนโยบายทางการเงิน stagflation เป็นอะไรที่จัดการยากเพราะถ้าพยายามจะลดอัตราดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะกลายเป็นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นไปอีก แต่ถ้าพยายามจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ก็จะไปทำให้เศรษฐกิจที่ไม่โตอยู่แล้วยิ่งแย่ไปอีก
 
🧐 เท่าที่ดู stagflation เคยเกิดอยู่แค่ช่วงเดียวคือแถวช่วงปี 1970s ในช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่มีราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหมือนกันเลย เรามีไปดูเค้าบอกว่า US stagflation เกิดช่วง 1974-1982 ในเวลานั้น inflation เค้าหน้าตาแบบนี้ครับ ดูสูงกว่า 4% ตลอด และมีช่วงที่สูงเกิน 10% ด้วย
 

〽️  แล้วก็เลยทำให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ จะเห็นว่ามีปรับสูงขึ้นช่วง 1974 นะ แล้วก็ลดลงไปน่าจะเพราะเศรษฐกิจหดตัว แล้วก็มาปรับสูงขึ้นมากอีกทีตอนท้ายๆช่วง 1980-1982 คงเพราะตัดสินใจแล้วว่ายังไงต้องเอาให้อยู่ให้ได

ส่วนการเติบโตของ GDP ก็สอดคล้องกัน  ช่วงปีที่ติดลบก็คือปีที่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงๆนั่นแหละ 1974 กับอีกทีตอนแถว 1980-1982

ส่วนอันนี้คือการจ้างงานครับ  Unemployment rate ก็ดูสูงขึ้นนะ  จริงๆถ้าดูกราฟกว้างกว่านี้ก็จะเห็นว่าช่วงนั้นอัตราการว่างงานสูงกว่าช่วงก่อนหรือหลังเวลานั้น

ในเวลานั้นการหลุดจาก stagflation ได้เค้าใช้วิธีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปสูงจนหยุดเงินเฟ้อได้  แต่ก็สงสัยว่าทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนาตามมาในช่วงเวลานั้น

โดยปกติสถานการณ์แบบ stagflation นี่มันไม่ใช่อะไรทั่วไปที่เกิดบ่อย  เวลาที่เศรษฐกิจไม่โตหรือถดถอย (recession) มันมักจะเป็นสภาพของการที่คนไม่มีงานทำ  ไม่มีรายได้  แล้วก็เลยไม่มีการบริโภคกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่ำลง  แล้วก็เลยทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้า  เงินเฟ้อต่ำหรือติดลบ  ไม่ใช่เงินเฟ้อสูง

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมมันถึงเกิด stagflation ขึ้นมาได้  ดูเหมือนจะไม่ชัดเจนเท่าไหร่  หลักๆแล้วความเห็นแบ่งออกเป็นสองความเชื่อคือ  หนึ่งอาจจะมาจาก supply shock อย่างเช่นแบบอยู่ๆก็มีเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากๆอย่างเช่นตอนนี้  มันก็เลยทำให้ราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้น  แล้วก็เลยทำให้เศรษฐกิจหดตัว  หรือไอเดียอันที่สองคือมาจากนโยบายการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจเยอะไปในขณะที่เศรษฐกิจอาจจะผลิตอยู่เต็ม capacity แล้ว  เลยทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สูง  หรืออาจจะเป็นเพราะทั้งสองอย่างนี้รวมกันก็ได้

3. Worst case สมมติเกิด stagflation หลายปี  ในช่วงเวลาที่เกิด stagflation ในอดีตนั่น  ผลตอบแทนของหุ้นก็ไม่ได้แย่  NYSE Composite ในช่วงนั้นโตปีละ 3.95% รวมปันผลด้วยสมมติซัก 2-3% ก็เป็นผลตอบแทนรวมปีละประมาณ 5.95-6.95%

ในเวลานั้นการหลุดจาก stagflation ได้เค้าใช้วิธีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปสูงจนหยุดเงินเฟ้อได้  แต่ก็สงสัยว่าทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนาตามมาในช่วงเวลานั้น

โดยปกติสถานการณ์แบบ stagflation นี่มันไม่ใช่อะไรทั่วไปที่เกิดบ่อย  เวลาที่เศรษฐกิจไม่โตหรือถดถอย (recession) มันมักจะเป็นสภาพของการที่คนไม่มีงานทำ  ไม่มีรายได้  แล้วก็เลยไม่มีการบริโภคกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่ำลง  แล้วก็เลยทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้า  เงินเฟ้อต่ำหรือติดลบ  ไม่ใช่เงินเฟ้อสูง

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมมันถึงเกิด stagflation ขึ้นมาได้  ดูเหมือนจะไม่ชัดเจนเท่าไหร่  หลักๆแล้วความเห็นแบ่งออกเป็นสองความเชื่อคือ  หนึ่งอาจจะมาจาก supply shock อย่างเช่นแบบอยู่ๆก็มีเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากๆอย่างเช่นตอนนี้  มันก็เลยทำให้ราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้น  แล้วก็เลยทำให้เศรษฐกิจหดตัว  หรือไอเดียอันที่สองคือมาจากนโยบายการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจเยอะไปในขณะที่เศรษฐกิจอาจจะผลิตอยู่เต็ม capacity แล้ว  เลยทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สูง  หรืออาจจะเป็นเพราะทั้งสองอย่างนี้รวมกันก็ได้

บทสรุป

Stagflation เป็นสภาวะที่เกิดเงินเฟ้อและเงินฝืดพร้อมๆกัน ข้าวของแพงขึ้นแต่ผู้คนไม่มีกำลังซื้อพอรายได้ก็ไม่เพิ่มหรือเพิ่มไม่เท่า ทำให้เศรษฐกิจถดถอยหรือหยุดชะงักได้เลย เป็นปัญหาสำหรับการลงทุน ในมุมมองของเราตอนนี้ Stagflation ยังไม่เกิด แต่มีโอกาสที่จะเกิดสูง สาเหตุที่เราบอกว่ายังไม่เกิดเพราะว่าราคาของมีการปรับขึ้นที่ยังไม่เท่าในอดีต และธนาคารกลางยังมีความเข้มแข็งอยู่

Share On :

Scroll to Top