ลงทุน “ลอยตัว” ชนะเงินเฟ้อด้วยกองทุน Infrastructure


กลยุทธ์ลงทุน "ลอยตัว" ชนะเงินเฟ้อด้วย Infrastructure

หลังจากที่

ตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศผู้นำเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มจะร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับสูงที่สุดครั้งหนึ่งในรอบกว่า 40 ปี ถ้าลองสรุปสาเหตุสั้น ๆ ก็พออธิบายได้ว่า ผลพวงจากช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้การการผลิต ขนส่งสินค้าติดขัด (Supply Bottleneck) เกิดภาพของอุปสงค์ อุปทานไม่สมดุล ทำให้เราสินค้า ต้นทุน มีการเร่งตัวขึ้น ประกอบกับประเด็นความขัดแย้งสงครามยูเครน รัสเซียที่กดดันในราคาพลังงานทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกับเงินเฟ้อให้ร้อนแรงขึ้นไปอีก

การลงทุน

ในพอร์ตตอนนี้ของหลายท่านจึงได้รับกระทบไปตาม ๆ กัน เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงเกินไป แต่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ทันฟื้นตัวดี ยังเปิดกิจกรรมธุรกิจกันยังไม่ได้เต็มที่ หากเจอต้นทุนการบริการ การผลิตที่สูงขึ้น ค่าครองชีพสูงดึงให้การติดสินใจใช้เงินถูกชะลอออกไป ดีไม่ดี อาจทำให้ความคาดหวังของเหล่าธนาคารกลางอาจเป็นฝันที่ไม่เป็นจริงได้ เกิดเป็นลักษณะของ Stagflation (เงินเฟ้อสูง แต่ดอกเบี้ยต่ำ) สิ่งเดียวที่ผู้ออกนโยบาย เช่น ธนาคารกลางของสหรัฐ (Fed) พอทำได้คือขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว (กว่าที่คาด) เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ซึ่งตรงนี้เองกระทบต่อ มูลค่าเหมาะสมของสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น ให้ถูกปรับลดลงอย่างช่วยไม่ได้

คำถามคือ

หากนักลงทุนคาดว่า เงินเฟ้อจะยังคงร้อนแรงต่อไปแบบนี้ อีกสักระยะ จะมีทางเลือกการลงทุนใดบ้างที่พอจะเป็นทางเลือกในช่วงภาวะปัจจุบันนี้  ?

หากพิจารณาจากข้อมูลผลตอบแทนกลุ่มสินทรัพย์ กับ อัตราเงินเฟ้อจะพบว่า (แกนนอน ภาพที่ 1 ในคอมเม้น) เราจะพบว่า แต่ละกลุ่มมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ อาจได้รับผลกระทบในด้านลบ เมื่อเงินเฟ้อสูง แต่สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้

ในอีกด้านหนึ่ง

หากมองว่านักลงทุนมีการจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงอยู่แล้ว (เช่น หุ้น 60% ตราสารหนี้ 40%) การตัดสินใจลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อาจแหวกแนวไปหน่อย ไม่มีความถนัดมากนัก หรือยังอยากลงทุนหลักทรัพย์ที่มีการเติบโตได้มากหน่อย การเลือกกระจายความเสี่ยงไปยังกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากเติบโตได้ดีในยามเงินเฟ้อสูง ผลตอบแทนไม่ได้น้อยไปกว่าหุ้นเท่าไหร่นัก แถมยังช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตได้ด้วย

แล้วทำไมกลุ่ม Infrastructure ถึงยังจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ ในยามเงินเฟ้อสูง และน่าจะคาดหวังได้ประมาณเท่าไหร่ ?

กองทุน

กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโดยส่วนใหญ่แล้ว จะเลือกลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า บริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นอยู่แล้วในการดำรงชีวิต เช่น ทางด่วน พลังงาน สายส่ง ท่อไฟเบอร์ เสาไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งการให้บริการจะมีลักษณะของเงื่อนไขที่สามารถขึ้นราคาได้หากต้นทุน (หรือเงินเฟ้อ)ในที่นี้ มีการปรับตัวสูงขึ้น พูดง่าย ๆ คือ สามารถผลักภาระบางส่วนให้กับลูกค้า ผู้ใช้งานได้ ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ ยังสามารถรักษาอัตรากำไร (profit margin) ได้ต่อเนื่อง รอดพ้นจากภัยเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ว่าจะให้ผลตอบแทนได้เท่าไหร่ กี่ % ต่อปี มุมมองจากทาง Baillie Gifford ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในระยะยาว ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ผลตอบแทนจากกลุ่มนี้อยู่ที่ 6.00% ต่อปี นับว่ามีความโดดเด่นกว่าหุ้น (4.50%) และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (5.25%) เสียอีก

ถ้าจะลงทุน ทางเลือกมีอะไรบ้าง ?

ทางเลือกหนึ่งที่ได้เปรียบเรื่องตัวเลือกและค่าใช้จ่ายคือ ETF ซึ่งมีให้เลือกอยู่พอสมควร เช่น IGF ของ iShares หรือ GLIF NFRA กลุ่มอุตสาหกรรมการลงทุน ไม่แตกต่างกันมากนัก เน้นไปที่ พลังงานไฟฟ้า การสื่อสาร คมนาคม ทางด่วน เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ดูผลตอบแทนย้อนหลังระยะยาว ถือว่าทำได้ประมาณ 6 – 7% ต่อปี และค่าใช้จ่ายของ ETF ก็ขึ้นชื่อว่าต่ำ ถึงต่ำมากเมื่อเทียบกับกองทุนรวมอยู่แล้ว

แต่มองว่าการลงทุนในต่างประเทศ ยังไม่ค่อยเห็นภาพ ยังไกลตัวเกินไป อาจลองศึกษาจากหุ้นลักษณะเดียวกันในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่มีให้ลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเรา อย่างเช่น DIF, BTSGIF, JASIF หรือ TFFIF เป็นต้น จากข้อมูล หลายหลักทรัพย์ค่อนข้างมีอัตราการจ่ายเงินปันผลที่น่าสนใจทีเดียว หรืออยากจะลองหาตัวอย่างใส้ในของกองทุนรวมที่มีนำเสนอจาก บลจ.ชั้นนำต่าง ๆ อย่างเช่น SCBGIF, KKP GINFRAEQ-H, K-GINFRA หรือ B-GLOB-INFRA ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้เห็นข้อมูลภาพรวมได้ อีกทางหนึ่ง

บทสรุป

กองทุน Infrastructure สามารถเติมโตได้สูงในช่วงที่เงินเฟ้อเร่งตัวและยังให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับหุ้นอีกด้วย โดยกองทุนประเภทนี้จะเลือกลงทุนกับสินค้าและบริการขั้นพื้นฐา เช่น ทางด่วน พลังงาน ท่อไฟเบอร์  เสาไฟฟ้า เป็นต้น โดย Baillie Gifford มองว่าใน 10 ปี ข้างหน้าจะให้ผลตอบแทน 6% ต่อปี อย่างไรก็ดี บลจ.ลีฟแคปปิตอล เราไม่ได้เสนอหลักทรัพย์ใด ๆ เราทำแต่กองทุนส่วนบุคคล โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยประเมินสภาวะการลงทุน คัดเลือกหลักทรัพย์และปรับพอร์ตให้โดยอัตโนมัติ หากจะเลือกลงทุนเอง นักลงทุนต้องทำการศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง ก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง ทั้งในด้านความเสี่ยง ความผันผวน สภาพคล่อง และที่สำคัญ สัดส่วน ความเหมาะสมที่จะนำมาใส่ในพอร์ตการลงทุนของอย่างระมัดระวัง เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสเติบโตเงินลงทุนได้ในระยะยาวนะครับ

Resource : https://www.ssga.com/…/consider-inflation-sensitive…

https://www.bailliegifford.com/…/2021-q3-ltre-climate…

บทความฉบับตั้งต้น เผยแพร่ในเวบไซต์ https://www.setinvestnow.com/…/xxxx-tsi-defeat…

Share On :

Scroll to Top