วิธีเตรียมตัว & จัดพอร์ตเกษียณให้ "รอด" ในสภาวะปัจจุบัน

ในช่วงเวลา

ที่สภาวะการลงทุนผันผวน (ไปทางลง) จนเรียกได้ว่า 6 เดือนแรกของปี 2022 ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดในรอบหลายปี สำหรับท่านที่กำลังเตรียมจะเกษียณหรือเกษียณไปแล้วก็อาจจะเกิดตกใจ ไม่มั่นใจมากเป็นพิเศษ วันนี้เรามาคุยกันว่าเราจะมีวิธีจัดการสถานการณ์แบบนี้อย่างไรให้เงินลงทุนของเรายังสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการใช้ชีวิตของเราได้อยู่

โดยแบ่งเป็นช่วงอายุ ต่าง ๆ 3 ช่วง ดังนี้

1. สำหรับกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 40 ปี

ต้องนับว่า ท่านที่อยู่ในกลุ่มนี้ยังอยู่ในช่วงที่กำลังสะสมทรัพย์สินอยู่ ทยอยเก็บ ทยอยลงทุน
ทำให้กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงน้อยสุด
จะมีเพียงความเสียหายทางจิตวิทยาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากหน่อย แต่เอาเข้าจริง เป้าหมายของพอร์ตไม่ได้มีปัญหาอะไร ไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะยังมีเวลาอีกหลายปีกว่าที่จะเกษียณ
เรื่องสำคัญตอนนี้น่าจะคือการโฟกัสไปยังสิ่งที่เราควบคุมได้ ซึ่งคืออัตราการออม
ในช่วงที่ตลาดตกรุนแรง อัตราการออมเราเท่าเดิมแต่เราจะซื้อหุ้นได้เยอะขึ้น ถ้าเป็นไปได้เราควรจะเช็คดูว่าเราสามารถเพิ่มอัตราการออมขึ้นอีกได้มั้ย
อีกอย่างที่ควรทำคือเช็คสัดส่วนการลงทุน (allocation) ของสินทรัพย์ไม่หลุดออกจากเป้าหมายมากนัก การ rebalance ในช่วงนี้ก็จะเป็นเหมือนการซื้อสินทรัพย์ที่ราคาตกลงมามาก ในสัดส่วนที่มากกว่า เป็นการดีที่เราจะได้ลงทุนในราคาถูกกว่าปกติ

2. สำหรับกลุ่มอายุ 41 - 55 คือยังไม่เกษียณแต่ใกล้ ๆ ละ

เรื่องที่เหมือนกับช่วงอายุแรก คือ ยังไงก็ยังให้ความสำคัญ กับอัตราการออม การออมเพิ่มในเวลานี้จะส่งผลไปในอนาคตอีกไกล ถ้าเป็นไปได้ ไหน ๆ เงินเดือนเราก็เหลือใช้ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถหมดแล้ว ลองดูว่าเราสามารถเพิ่มอัตราการออมขึ้นอีกได้มั้ย
ช่วงอายุนี้ สัดส่วน allocation เป็นเรื่องสำคัญสุด ถ้าเป็นไปได้เราควรจะต้องมีสัดส่วนที่มีสมดุลระหว่างสินทรัพย์ปลอดภัยกับเสี่ยงมากขึ้น อาจจะทยอยลดหุ้นไปเพิ่ม การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นและระยะกลาง ตามอายุที่เข้าใกล้การเกษียณมากขึ้น
หรือถ้าใกล้ปีเกษียณมากแล้ว อาจจะควรเริ่มมีส่วนที่เป็นเงินสดบ้าง
โดยรวม หลักสำคัฯ สำหรับช่วงอายุนี้คือ ”ความสมดุล”
และสำหรับคนวัยนี้ การวางแผนเกษียณควรจะเป็นเรื่องที่ต้องลงรายละเอียดจริงจังแล้ว เช่น
ประมาณเงินที่ต้องใช้ เผื่อพวกเรื่องพิเศษด้วยเช่น ซื้อรถใหม่, ซ่อมบ้าน, ฯลฯ
จะย้ายถิ่นที่อยู่ไหม หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรใหญ่ ๆ กับการดำเนินชีวิตมั้ย
ควรจะถอนเงินมาใช้ด้วยอัตราเท่าไหร่ดี หลังวันที่เราไม่มีรายได้ประจำแล้ว

3. สำหรับกลุ่มที่เกษียณอยู่แล้ว (55 ขวบขึ้นไป)

สำหรับคนที่เกษียณอยู่ สิ่งที่จะควบคุมได้ก็คืออัตราในการถอนเงินมาใช้
จากงานวิจัยที่เราศึกษา การที่เราสามารถที่จะมีความยืดหยุ่นในการถอนเงินได้จะทำให้เราได้เปรียบกว่าการถอนแบบคงที่ เช่นถ้าสมมติเป็นช่วงตลาดกำไรดี เราก็อาจจะถอนออกมาใช้เยอะหน่อยได้ และถ้าเป็นช่วงตลาดตก เราก็อาจจะถอนออกมาน้อยหน่อย แต่ก็ต้องสัมพันธ์กับเงินต้นคงเหลือที่จะเพียงพอให้มีสำรองใช้ไปนาน ๆ เช่นกัน
โดยรวมแล้วเราควรจะพิจารณาปีที่ผ่านมาเต็มปีว่าความเหมาะสมของการถอนคือเท่าไหร่ และอาจจะดูด้วยว่าจะลดออกจากสัดส่วนสินทรัพย์ใด จึงจะเหมาะสมที่สุด (เช่น ปีนี้หุ้นลงทั้งปี แต่ปัจจัยยังดีอยู่ก็อาจขายส่วนหุ้น น้อยหน่อย แต่ไปขายมากขึ้นในส่วนตราสารหนี้แทน เป็นต้น)
ในพอร์ตควรจะมีเงินสดหรือตราสารหนี้ระยะสั้นความเสี่ยงต่ำไว้ตลอด เพื่อสำรองค่าใช้จ่ายระหว่างทาง และยามฉุกเฉิน

สุดท้ายที่สำคัญคือ

พยายามอย่าติดตามข่าวมากนัก ให้ยึดและเดินตามแผนเกษียณที่วางไว้จะดีกว่า คนที่ติดตามข่าวสาร “ด่วน!” มากไปจะรู้สึกว่าต้องลงมือทำอะไรซักอย่างอยู่ตลอด ซึ่งเป็นอันตรายกับแผนเกษียณมากกว่าจะเป็นเรื่องดี

หวังว่าคำแนะนำเบื้องต้นของเรา

จะพอทำให้ท่านนักลงทุน คลายความกังวลลงได้ อย่างน้อยก็ได้มีแนวทางว่าขั้นทำถูกแล้ว ยึดแผนเดิมต่อไป โดยเฉพาะในวันที่ตลาดเริ่มฟื้นได้ ปัจจัยเริ่มคลี่คลาย ไม่ต้องคอยซื้อตาม ตลาด กองไหนดี ? ซื้อเมื่อไหร่ดี ? ซื้อได้ยัง ? อยู่ตลอดเวลาครับ

เตรียมตัวอย่างไร ?

 มั่นใจวัยเกษียณ (Lief Capital Exclusive Seminar)
แต่ถ้าอ่านบทความแล้วยังไม่มั่นใจ ลองมาเจอกันที่งานสัมมนาโดย บลจ.ลีฟแคปปิตอล ที่จัดขึ้นเพื่อการเตรียมตัวเกษียณโดยเฉพาะ วันที่ 27 สิงหาคม เวลา 9.00 – 12.00 ชั้น 7 ห้อง Auditorium ตึก KX Knowledge Xchange (ติด BTS กรุงธนบุรี) ลงทะเบียนจองที่นั่งก่อนใครได้เลยที่ https://bit.ly/3dc2I4Z

ทดสอบแผนเกษียณ

ของท่าน ว่ามีโอกาสเป็นจริงได้แค่ไหน https://kasiansystem.com/

บทสรุป

การลงทุนในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตนั้น จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงของเราเองครับ แต่ตามหลักแล้วยิ่งอายุมากก็ควรจะลดความเสี่ยงลง เพราะว่าเรามีเวลาก่อนจะเกษียณลดลงเรื่อย หากพอร์ตเสียหายตอนช่วงโค้งสุดท้ายก็จะไม่ดีเท่าไหร่ใช่ไหมครับ  แล้วโดยเฉพาะด้านจิตใจ เราอาจจะกังวลมากขึ้นด้วยซํ้าไป  ยิ่งถ้าตามข่าวมากก็ยิ่งกังวลเข้าไปอีกแล้วสุดท้ายก็จะกระทบกับการตัดสินใจของเราเองครับ

Share On :

Discover more from

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Scroll to Top