10 ข้อผิดพลาด ที่ทำให้ “แผนเกษียณ” ไปไม่ถึงฝัน

การวางแผนที่ดี ควรจะต้องวางแผนอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดใหญ่ ที่อาจจะทำให้แผนของเราพังอย่างสิ้นเชิง ลองมาดูกันว่ามีข้อผิดพลาดร้ายแรงอะไรบ้างที่ต้องระวังกันบ้าง

1.ไม่มีกองทุนฉุกเฉิน

1.1) เมื่อถึงจุดหนึ่งของชีวิต สิ่งที่ไม่คาดฝันก็อาจจะเกิดขึ้นกับเราก็เป็นไปได้ เช่น อาจจะต้องเข้าโรงพยาบาลกระทันหัน พาสัตว์เลี้ยงแสนรักไปหาหมอ อาจจะต้องจ่ายเงินค่าซ่อมบ้านครั้งใหญ่ หรือ ไฟไหม้ก็แล้วแต่ 

1.2) คุณไม่มีทางรู้เลยเหตุฉุกเฉินครั้งต่อไปของคุณจะเป็นอย่างไร แต่เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วและคุณไม่มีเงินสดสะสม ก็อาจจะทำให้คุณต้องก่อหนี้บัตรเครดิต หรือว่าต้องถอนเงินจากการลงทุนที่เก็บมาอย่างดี ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เป้าหมายการเกษียณอายุก่อนกำหนดของคุณช้าออกไป
 
1.3) การเตรียมตัวเป็นสิ่งจำเป็น แนะนำให้เปิดบัญชีออมทรัพย์ และแปะป้ายว่า กองทุนฉุกเฉิน เอาไว้ เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น กองทุนฉุกเฉินของคุณควรจะมีสักเป็น 3-6 เท่าของรายได้ต่อเดือนของคุณ

2.ไม่ยอมตัดสินใจลงทุน

2.1) การลงทุนที่ดีที่สุดคือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และเวลาที่ดีที่สุดถัดไปคือ ณ ตอนนี้ การลงทุนไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก เราสามารถลงทุนผ่าน APP หรือกองทุน เพื่อไปเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของบริษัทชั้นนำเช่น แอปเปิ้ล หรือเทสล่าได้ นอกจากนี้ ถึงแม้เงินจะไม่มากก็สามารถกระจายความเสี่ยงเปรียบเสมือนลงหุ้นหลายตัวผ่านกองทุนได้เช่นกัน
 
2.2) ยิ่งเริ่มลงทุนเร็วนั้นจะได้เปรียบ เพราะว่าเงินจำนวนเล็กของคุณนั้นมีโอกาสที่โตแบบทบต้น และหวังว่ามันจะเป็นเท่าตัวก่อนที่วัยเกษียณของคุณจะเริ่มด้วยซ้ำ ในขณะที่ ถ้าคุณยังไม่ตัดสินใจลงทุน คุณก็อาจจะไม่ได้ประโยชน์จากผบตอบแทนแบบทบต้น ซึ่งก็จะทำให้คุณจะต้องเก็บออมมากขึ้นและใช้เวลามากขึ้นเพื่อแผนเกษียณของคุณ

3.ไม่มีแผนที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน

3.1) แผนที่ดีจะต้องมีเป้าหมายและรายละเอียดเกี่ยวผู้ลงทุนที่ครบและชัดเจน เพื่อที่จะได้ออกแบบการลงทุนให้เหมาะสมได้ ไม่ว่าเป็นเรื่อง จำนวนเงินที่ต้องการสำหรับการเกษียณ ระยะเวลาการลงทุน จำนวนเงินออมในแต่ละเดือน กลยุทธ์ และความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
 
3.2) แผนที่ดีควรจะเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องมี กราฟ หรือมีคำศัพท์เทคนิค การคำนวนที่ยุ่งยาก ซึ่งหากสิ่งเหล่านี้คุณไม่ถนัดก็ให้มืออาชีพ อย่างนักวางแผนการเงินเข้ามาช่วยได้
 

4.มุ่งที่ลดรายจ่ายมากกว่าหารายได้

4.1) เป็นเรื่องปกติที่คนจะเน้นลดการใช้จ่ายมากกว่าการหาเงิน เนื่องจากมันง่ายกว่ามาก ใช้เวลาน้อยลงและไม่จำเป็นต้องเจรจา หรือเสนอแนวคิดไอเดียบรรเจิดให้เจ้านายของคุณ
 
4.2) แต่ลดการค่าใช้จ่ายนั้นก็ทำได้อย่างจำกัด เพราะยังไงคุณก็ไม่มีทางลดได้เป็น 0 ในขณะที่มีการสร้างรายได้ผ่านการลงทุนของคุณ นั้นมีเพดานก็สูงกว่ามาก และเมื่อรวมกับพลังของการทบต้นแล้ว ความสามารถของคุณในการหารายได้พิเศษเพิ่มขึ้นได้หลายเท่าตลอดช่วงชีวิตของคุณ

5.กลัวความเสี่ยงมากเกินไป

5.1) ไม่มีใครอยากเสียเงิน แต่นั้นคือความเสี่ยงที่เราต้องเจอในการลงทุน แต่มีพูดว่า ความเสี่ยงที่สุดคือการไม่เทคความเสี่ยงอะไรเลย ซึ่งนั้นทำให้เราเสียโอกาสที่จะให้เงินทำงานอย่างสิ้นเชิง
 
5.2) การกลัวความเสี่ยงถือเป็นเรื่องปกติสำหรับมนุษย์เรา โดยได้มีบทวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยา ว่ามนุษย์ทั่วไปนั้นจะมีความรู้สึกเกลียดการเสียเงินมากเป็นสองเท่าของความรู้สึกดีใจเวลาเราได้เงิน ซึ่ง อคตินี้ทำให้เรามีแนวโน้มการตัดสินใจที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และคิดไปในทางเชิงลบว่าเราน่าจะเสียเงินมากกว่าได้เงิน ทั้งๆโอกาสมันก็อาจจะเท่าๆกัน นอกจากนี้ ประวัติการลงทุนในหุ้นในช่วงหลายหลายปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการลงทุนระยะยาวสามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นบวก 8-10% ต่อปี
 
5.3) อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการลงทุน จุดสำคัญคือไม่ใช่ว่าหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทั้งหมด แต่หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เป็นจุดตาย หรือเป็นหายนะซึ่งทำให้การลงทุนของเรานั้นพังอย่างถาวร ซึ่งเราสามารถจำกัดความเสี่ยงจากการขาดทุนอย่างหนักได้หลายทาง เช่น การกระจายการลงทุนในหุ้นหลายๆตัว หรือหลายสินทรัพย์ที่มีลักษณะความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ซึ่งการปรับการลงทุนให้เหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิตก็มีความจำเป็น ซึ่งจะพูดในข้อถัดไป

6.ไม่ได้ปรับการลงทุนเมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ในชีวิตเข้ามา

6.1) แผนการเงินที่ดีควรจะมีความหยืดหยุ่นได้ ปรับได้ เพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตแล้ว แผนเกษียณของเรานั้นยังดำเนินต่อไปได้ เช่น เหตุการณ์ที่ใหญ่ ก็อาจจะเช่น การตัดสินใจซื้อบ้าน แต่งงาน มีลูก เปลี่ยนงาน หรือเริ่มธุรกิจใหม่
 
6.2) การปรับแผนให้เหมาะในแต่ละช่วงชีวิตก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากแต่ละช่วงก็รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน เช่น ตอนเราหนุ่มสาว ยังไม่มีภาระเยอะ ลูกก็ยังไม่มี พ่อแม่ยังสามารถดูแลตัวเองได้ ก็สามารถลงทุนได้เสี่ยงมากหน่อย ในขณะที่คนที่อายุเยอะมีภาระ มีลูก มีพ่อแม่ที่ดูแล เรียกว่าพลาดแล้วไปทั้งครอบครัว ก็อาจจะรับความเสี่ยงได้น้อยหน่อย อาจจะต้องมีกองทุนฉุกเฉินมากขึ้น มีประกันชีวิต การวางแผนมรดก รวมไปถึงแผนเก็บออมเพื่อการศึกษาให้ลูกด้วย
 
6.3) การไม่ได้มารีวิวแผนการเงินของเรา ก็อาจจะทำให้เหตุการณ์เรานี้ส่งผลให้แผนเกษียณของเราไม่ประสบความสำเร็จ

7.ไม่ได้เตรียมตัวสำหรับเหตุการณ์วิกฤต หรือกรณีร้ายแรง

7.1) เหตุการณ์ไม่คาดฝันซึ่งเราไม่สามารถควบคุม ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่บังคับให้คุณต้องเริ่มต้นแผนเกษียณของคุณใหม่ทั้งหมด ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ลำบากทั้งทางเงินและจิตใจ
 
7.2) เหตุการณ์ เช่น ตลาดหุ้นถล่มทลาย บาดเจ็บหนัก ตกงาน หรือ หย่าร้าง
 
7.3) เตรียมตัวรับมือเหตุการณ์หลายนี้ เช่น การกระจายการลงทุน การซื้อประกัน ก็มีความสำคัญไม่แพ้กับการลงทุนเพื่อสร้างให้เงินงอกเงย

8.ไม่มองในระยะยาว

8.1) การมองระยะยาวนั้นเป็นนิสัย และทักษะที่ต้องพัฒนา ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เราโฟกัสแต่ในสิ่งที่จะทำให้อนาคตที่เราตั้งเป้าหมายนั้นเป็นจริง
 
8.2) แต่ปัญหาก็คือ สมองคนเรามักจะมองหาความสุขหรือความพึงพอใจในระยะสั้นมากกว่า ซึ่งทำให้เราอาจะถอนเงินออกมาซื้อสิ่งที่เราอยากได้มากกว่าออมเงินเพื่ออิสระภาพหลังเกษียณ ดังนั้นเราจึงต้องมั่นทบทวน และพยายามโฟกัสเป้าหมายที่เราอยากเป็น จากนี้ สิบปี หรือ ยี่สิบปีข้างหน้า เพือ่ให้แผนเราไปตามที่ตั้งเป้าไว้

9.ไม่ให้ยอมรางวัลตัวเองบ้าง

9.1) ถึงแม้ว่าเรามองเป้าหมายในระยะยาวก็จริง แต่ไม่ได้หมายถึงเราจะออมเงินอย่างเข้มข้น และทุ่มทุกอย่างให้กับการลงทุนหมด ความสุขเล็กๆน้อย เช่น การได้กินมือค้ำ การท่องเที่ยว การสังสรรค์กับเพื่อน กาแฟอร่อยตอนเช้า ก็เป็นสิ่งเล็กที่เติมพลังให้คุณได้
 
9.2) ในขณะที่การเสียสละสิ่งพวกนี้มากเกินไป อาจจะทำให้จิตใจห่อเหี่ยวและทำให้คุณไม่อยากออมเงินเพื่อทำตามแผนได้ตลอดชีวิต การนแผนควรจะดำเนินทางสายกลาง ชีวิตก็ควรมีความสุขบ้าง ให้รางวัลตัวเองบ้าง แผนที่ตึงเกินไปก็อาจจะไม่ทำให้คุณยึดติดกับแผนได้ตลอดไป

10.ไม่ได้รับคำปรึกษาจากมืออาชีพ

10.1) การได้รับคำปรึกษาจากผู้ที่ชำนาญ นั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราไปสู่เป้าเกษียณได้อย่างเร็ว และสามารถเห็นสัญญาณ หรือสิ่งปกติกับแผน หรือการลงทุนได้ก่อนที่มันจะช้าไป
 
10.2) การยอมรับว่าเราไม่เชี่ยวชาญ หรือการไม่รู้อะไร และเติมเต็มช่องว่างเหล่านั้นด้วยการหาความรู้ ได้รับคำปรึกษา หรือใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็ทำให้แผนเรามีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

บทสรุป

จะเห็นว่ามีปัจจัยมากมายที่มาทำให้การเกษียณเป็นไปได้อย่างยากลำบาก แต่นั่นเป็นเพราะเราเลือกที่จะนำเสนอข้อผิดพลาดก่อน ซึ่งเราก็ไม่ได้ลืมที่จะหาทางออกด้วยการทำ 10 Tips & Tricks ให้ทุกท่านได้ทราบ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดเหล่านั้น

หากท่านได้ต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อผ่าน Line official : @liefcapital หรือ https://lin.ee/9kuD10A

** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยบทความนี้มิใช่สิ่งชี้นำซื้อขายการลงทุนแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงแค่การให้ความรู้และข้อมูลที่ช่วยให้เพิ่มมุมมองในการลงทุนเท่านั้น **

Share On :

Scroll to Top