Research

พาส่องกลยุทธ์การลงทุนตราสารหนี้

INSIGHT

Lief capital Asset Management

พาส่องกลยุทธ์การลงทุนตราสารหนี้

Three market scenarios: how would credit perform?

สรุปประเด็นสำคัญ

 

Schroders จะพานักลงทุนมองข้ามช็อต ไปยัง 12 เดือนข้างหน้าหลังจากนี้ของตลาดตราสารหนี้ โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 3 Scenario ดังนี้
 
The Good – Soft Landing เศรษฐกิจเติบโตช้าลง แต่ไม่มี Recession หรือ Crisis เงินเฟ้อชะลอลงได้ดีโดยไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก และที่สำคัญภาคธุรกิจแข็งแรง The Bad – Hard Landing เศรษฐกิจหดตัวรุนแรง อัตราว่างงานพุ่งสูง แม้เงินเฟ้อจะควบคุมได้อยู่หมัดแต่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวลง The Ugly – Rates go up เงินเฟ้อร้อนแรงยืดเยื้อ ดอกเบี้ยต้องขึ้นต่อ ตลาดตกใจ กังวล เหมือนกลางปี 2022 ที่ผ่านมา

แต่ละ Scenario ลงทุนอย่างไรดี ?

Soft Landing – ดอกเบี้ยลงจะเป็นช่วงที่โอกาสในการ Default ของ bond ต่ำ แนะนำให้เลือกตราสารหนี้ระยะยาว และเลือก High Yield Bond เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม

Hard Landing –  ดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรง เศรษฐกิจค่อนข้างตึงตัว ให้เลือก ตราสารหนี้ระยะยาว แต่เลือกเป็น Investment Grade เพื่อเลี่ยงการ Default ของตราสารหนี้

Rates back up -ดอกเบี้ยยังคงขึ้นสูงต่อเนื่อง เงินเฟ้อยังคงสูงอยู่แนะนำให้เลือก Floating Rate เพื่อป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ รวมถึง Investment Grade เพื่อป้องกันความเสี่ยงตลาด

 

จัด Port 60/40 ยังได้ผลไหม

นี่คือครั้งแรกตั้งแต่ 1969 ที่หุ้นกับ Bond ลงพร้อมกัน / Fed ขึ้นดอกเบี้ย เร็วสุดในรอบ 40 ปี / เมื่อตลาดเลิกกังวลเงินเฟ้อ และกลับมาอยู่ในโหมดเติบโต ตราสารหนี้จะกลับมาช่วยทำหน้าที่กระจายความเสี่ยงได้

 

 

โดยสรุป :

Schroders แบ่ง Bond ที่น่าสนใจในการลงทุน เป็น 3 Scenario ดังนี้

1.) Soft Landing – ลงทุน High Yield Bond และ ตราสารหนี้อายุยาว

2.)Hard Landing – เลือก Investment Grade Bond

3.) Rates Back Up – ลงทุนใน Floating Rate Bond 

 

ส่วนการลงทุนแบบ 60/40 นั้นถ้าหากว่าตลาดคลายความกังวล และเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะเติบโตได้ ตราสารหนี้ก็จะกลับมาช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตได้ดีเช่นเดิม

 

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.schroders.com/en/insights/economics/three-market-scenarios-how-would-credit-perform/

*บทความสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือคำเสนอสินค้าและบริการทางการเงินการลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

สถานการณ์ปัจจุบันจะเกิด Hard Landing หรือจะไม่ Landing เลย ?

INSIGHT

Lief capital Asset Management

สถานการณ์ปัจจุบันจะเกิด Hard Landing หรือจะไม่ Landing เลย ?

Macro Scenarios : Soft, Hard or No Landing This Year?

สรุปประเด็นสำคัญ

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการลงทุน แต่อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ดีมากเกินไป ยังมีเงินเฟ้อที่ Sticky และปัญหาแบงค์ล้มที่ยังอยู่ และส่งที่ยังต้องคิดต่อคือ นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ จะรุนแรงไป หรือ เบาไป ยังเป็นความเสี่ยงที่ยังรอในข้างหน้า จากภาพข้างล่างบ่งชี้ตลาดคาดหวังว่า FED จะลดดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม (ซึ่งลดจริงๆ) 

จากความไม่แน่นอน ของผลที่ตามมาของนโยบายทางการเงิน ทาง MSCI ได้แบ่ง SCENARIO ที่น่าจะเกิดดังต่อไปนี้

  • Soft Landing – ดอกเบี้ยสูง แต่เงินเฟ้อค่อยๆลงมาตามคาดเศรษฐกิจโลกและ กลุ่มตลาดที่พัฒนาแล้วมีการเติบโตเล็กน้อยเท่านั้น

  • Hard Landing – นโยบายการเงินที่เข้มงวดเกินไปทำให้เงินเฟ้อลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ GDP ติดลบ Growth ไม่มี การถดถอยอาจจะรุนแรง

  • Mild stagflation – เงินเฟ้อไม่ลง ทำให้ FED หมดความน่าเชื่อถือ ประกอบกับ ดอกเบี้ยสูงทำให้ Growth น้อย  เงินดอลลาร์แข็งค่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเลยแย่ไปด้วย

  • Strong rebound – เงินเฟ้อลดเร็วกว่าที่คาด ไม่ต้องใช้นโยบายเข้มงวด กระตุ้นเศรษฐกิจกลับมาโตได้เร็ว 

จาก Scenario ที่ไล่เลียงมานั้น จะพบว่า 

  • ลงทุนแบบ Portfolios ดีสุด ในกรณี Strong Rebound ทำ Return 8% แต่แย่สุดในช่วง Mild Stagflation แต่ผลตอบแทนมีความเสถียร(ไม่เหวี่ยงไปมา) เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ 

  • ตราสารหนี้ ดีที่สุดในกรณี Hard Landing แต่ Strong Rebound อาจจะไม่ดีเท่าไหร่

  • กลุ่มหุ้น  Performance ดีสุดช่วง Strong Rebound (7.00% – 14.00%) แต่ Underperform ช่วง Mild Stagflation (ตรงข้ามกับตราสารหนี้

 

โดยสรุป :

โดยสรุป จาก Scenario ที่ MSCI โชว์ให้เห็นนั้น จะเห็นได้ว่าไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุดในทุกๆ ช่วงเวลา แต่ถ้าหากเลือกสินทรัพย์ให้ถูกโดยคำนึงถึง ช่วงเวลาในการลงทุนก็อาจที่จะสร้าง Performance ที่ดีได้เช่นกัน

 

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.msci.com/www/blog-posts/macro-scenarios-soft-hard-or-no/03812879490

*บทความสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือนำเสนอสินค้าและบริการทางการเงินการลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

มารู้จัก Multi Stage Life Stage ของชีวิตแบบใหม่ และ ธุรกิจที่จะได้ไปต่อคือใคร?

INSIGHT

Lief capital Asset Management

มารู้จัก Multi Stage Life Stage ของชีวิตแบบใหม่ และธุรกิจที่จะได้ไปต่อคือใคร

Welcome to the Multi-Stage Life

ตลอด 100 ปีที่ผ่านมาโลกของเราได้แบ่งช่วงการใช้ชีวิตเป็น 3 ช่วงด้วยกัน

1.วัยเรียน

2.วัยทำงาน

3. วัยเกษียณ

 

จากการคาดการณ์ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รายได้ประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และ Trend ของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley คาดว่า โลกในอนาคตนั้น จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น คนวัยทำงานจะเปลี่ยนงานและทำงานที่หลากหลายมากขึ้น เริ่มมีการ Career Break คือพักก่อนแล้วจึงเริ่มหางานทำใหม่ การเรียนรู้จะไม่จบที่อายุ 22 เท่านั้น และการเกษียณก็อาจจะไม่ได้เริ่มต้นที่ 65 เช่นกัน พูดง่ายๆ คืออายุจะไม่ใช่ตัวกำหนด Stage Of Life อีกต่อไป จึงได้ Stage Of Life เป็นดังรูป

จากรูปจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนสายงานบ่อยขึ้น และจะมี Career Break ก่อนที่จะเปลี่ยนงาน

 

การเปลี่ยนแปลงได้เริ่มขึ้นแล้ว

การเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ที่หลายๆ อุตสาหกรรมจะต้องวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ เพื่อผลิตสินค้าที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าใหม่ได้มากที่สุด ผลกระทบของสภาพแวดล้อมใหม่ต่อเศรษฐกิจจะมีดังนี้

 

การขยายตัวที่รวดเร็วของ AI,Robotics,Internet of Things และเทคโนโลยีอื่นๆที่ตามมา

 

“ความโปร่งใส” จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค จากงานวิจัยพบว่า คน GenZ มักจะหาข้อมูลเชิงลึกของสินค้าชนิดหนึ่งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง

 

Product Cycle ของสินค้าจะสั้นลง เนื่องจากผู้บริโภคแต่ละคนจะมีการรับข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้นบริษัทจึงจะต้องพยายามที่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองผู้บริโภคให้ได้เร็วที่สุด และ หลากหลายกลุ่มที่สุด

 

ผู้บริโภคมองหาคุณค่าก่อนที่จะซื้อสินค้า มากกว่าที่พิจารณา เรื่องราคาและคุณภาพ

 

สำหรับ Brand Luxury ในอนาคต จะต้องมีสินค้าที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองกลุ่ม ลูกค้าที่หลากหลาย เพราะกลุ่ม GenZ และ Alpha นั้นมีแนวโน้ม ที่จะบริโภคมากขึ้นกว่า คนรุ่นก่อนถึง 3 เท่า และสินค้าจะต้องสะท้อนอัตลักษณ์ของผู้ซื้ออย่างชัดเจน

 

ธุรกิจที่ดูแลเกี่ยวกับการตรวจรักษาสุขภาพหรือ GYM จะมีโอกาสมากขึ้นจากการที่กลุ่ม GenZ และ GenY ดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เพื่อที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น

 

โดยสรุป : Multi-Stage Life เป็นรูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป มีการเปลี่ยนสายงานมากขึ้น มีการ Break จากการทำงาน และจะไม่ทำงานเพื่อใ้ช้ชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่นต้องการสร้างอัตลักษณ์ที่สะท้อนตัวตนของตัวเอง มีการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น และมีการทำ Research อย่างลงลึกก่อนที่จะซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังมีการดูแลสุขภาพที่มากขึ้น โดยTrend Stage of Life แบบใหม่นี้ จะส่งผลกระทบกับผู้คนโดยตรงและกับธุรกิจด้วย จะเห็นได้ว่าธุรกิจที่จะได้ไปต่อนั้น จะเป็นธุรกิจที่ตอบสนอง Life Cycle ของคนรุ่นใหม่เท่านั้นและจะต้องมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอีกด้วย

 

 

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.morganstanley.com/im/en-us/individual-investor/insights/articles/welcome-to-the-multi-stage-life.html

*บทความสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือคำเสนอสินค้าและบริการทางการเงินการลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

Scroll to Top