Retirement

3 อุปสรรคที่ “ขัดขวางการเกษียณ”


3 อุปสรรค ที่ขัดขวางการเกษียณ มีอะไรบ้างนะ

ตั้งแต่ปี 2020

คนไทยตื่นตัวเรื่องเกษียณกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ง่าย เพียงแค่เปิดมือถือในตอนเช้า ก็จะเห็นเรื่องนี้ทุกวี่ทุกวัน เรียกได้ว่า เปิดไปรับข้อมูลช่องทางไหนก็ต้องมีเรื่องเกษียณให้พูดถึงเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ยอดฮิตติดลมกันเลยทีเดียว

อีกสาเหตุหนึ่งที่การเกษียณได้รับความสนใจมากขึ้นเป็นเท่าตัว นั้นเพราะความไม่แน่ไม่นอนของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดูอย่างปี 2020 สิครับ คนทั้งโลกต้องเจอกับโรคระบาด Covid-19  จากงานประจำที่คิดว่ามั่นคง…ตื่นมา กลายเป็นคนว่างงานในช่วงข้ามเดือนไปซะอย่างงั้น 

ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยหันมาให้น้ำหนักกับการ “ออมเงิน” และ “การลงทุน”  มากยิ่งขึ้น และยิ่งสถาบันการเงินเองก็พัฒนาการให้บริการ ทำให้เข้าถึงเรื่องลงทุนง่ายกว่าแต่ก่อนหลายเท่า

แต่แม้ว่าหลายคนจะพยายามออมหรือลงทุน เรื่องก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เนื่องจากอุปสรรค 3 ข้อหลักๆ วันนี้ผมจึงจะมาบอกอุปสรรคที่จะขัดขวางไม่ให้เราเกษียณได้สำเร็จกันครับ ซึ่งทั้ง 3 ข้อนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ซะด้วยสิ…

อุปสรรคที่ 1 เงินเฟ้อ

ขออธิบายสั้นๆก่อนนะครับ เงินเฟ้อ คือ ในอนาคตสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปัจจุบัน  อธิบายให้เห็นภาพ คือ วันนี้ปี 2022 เราเก็บเงิน 1ล้านไว้ในตู้เซฟที่บ้านเพื่อเอาไว้เป็นค่าอาหารตลอดทั้งปีในอีก 20 ปีข้างหน้า ปรากฏว่าพอถึงวันนั้น  ปี2043  เงิน 1ล้านของเรากลับซื้ออาหารได้แค่ครึ่งปีเท่านั้น  นั้นหมายความว่าถ้าอยากรอด อนาคตเราต้องอดมื้อกินมื้อถึงจะมีชีวิตอยู่รอดได้

อุปสรรคที่ 2 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

ขอย้อนอดีตไปก่อนยาวๆ ปี1997 (ก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง)  ดอกเบี้ยธนาคารเคยให้มากถึง 24% ต่อปี  หรือให้เห็นภาพคือฝาก1ล้านปีนี้ ปีหน้ามีเงิน 1.24ล้าน ยิ่งถ้าไม่เอาเงินมาใช้รอแค่3ปีกว่าๆเงินเราจะกลายเป็น 2 ล้านโดยแทบไม่ต้องเสี่ยงอะไรเลย  

ตัดภาพมาปัจจุบันดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.5% ต่อปี  ถ้าเราเอาเงิน1ล้านไปฝากธนาคาร ในปีหน้าเงินเราจะกลายเป็น 1ล้านกับอีก5พันบาท หรือถ้าอยากให้เงินเรากลายเป็น 2 ล้านเราก็ต้องรอไปอีกถึง 139 ปี ซึ่งเราก็ไม่น่าจะรอไหวกันนะครับ 

สมมุติว่าเราคำนวณแล้วค่าใช้จ่ายเกษียณคือ 30 ล้าน (ใช้เงินตั้งแต่อายุ60-80ปี) ปัจจุบันเราอายุ 40 ถ้าออมได้ปีละ1ล้าน และมีเวลาออม20ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ย0.5% ต่อ ปี เมื่อเราอายุ60เราจะมีเงิน21ล้าน (เพิ่มมาแค่ล้านเดียว) ก็หมายความว่าเราเกษียณไม่ได้แน่ๆ

อุปสรรคที่ 3 การลงทุนที่ซับซ้อนขึ้น

ปัจจุบันต้องบอกว่าการลงทุนไม่ได้ง่ายเหมือนเมื่อก่อนสักเท่าไหร่นะครับ เนื่องจากตัวสินทรัพย์ลงทุนมีความหลากหลายและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ตำราเก่าๆไม่สามารถเอามาอ้างอิงได้อีกแล้ว สาเหตุเพราะสถานการณ์ของเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันไปแต่ละช่วงเวลา สินทรัพย์ลงทุนใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้ยากแก่การนำไปลงทุนให้ถึงเป้าหมายเกษียณ

จะเห็นว่าต่อให้วันนี้เราพร้อมที่จะออมลงทุนแค่ไหนแต่มันก็จะมีอุปสรรคมาขัดขวางเราไม่ให้เราได้

เกษียณอย่างที่ตั้งใจไว้  แต่ไม่ใช้ว่าจะแก้ไขไม่ได้แค่เราศึกษาเรื่องการลงทุนอย่างถูกต้องก็จะช่วยให้เราผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้อย่างแน่นอน

กองทุน

กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโดยส่วนใหญ่แล้ว จะเลือกลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า บริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นอยู่แล้วในการดำรงชีวิต เช่น ทางด่วน พลังงาน สายส่ง ท่อไฟเบอร์ เสาไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งการให้บริการจะมีลักษณะของเงื่อนไขที่สามารถขึ้นราคาได้หากต้นทุน (หรือเงินเฟ้อ)ในที่นี้ มีการปรับตัวสูงขึ้น พูดง่าย ๆ คือ สามารถผลักภาระบางส่วนให้กับลูกค้า ผู้ใช้งานได้ ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ ยังสามารถรักษาอัตรากำไร (profit margin) ได้ต่อเนื่อง รอดพ้นจากภัยเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ว่าจะให้ผลตอบแทนได้เท่าไหร่ กี่ % ต่อปี มุมมองจากทาง Baillie Gifford ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในระยะยาว ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ผลตอบแทนจากกลุ่มนี้อยู่ที่ 6.00% ต่อปี นับว่ามีความโดดเด่นกว่าหุ้น (4.50%) และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (5.25%) เสียอีก

บทสรุป

จากอุปสรรคทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาใหญ่ ที่เราทุกคนต้องเจอ ฉะนั้นการวางแผนทางการเงินตั้งแต่เนิ่นๆและวางแผนการใช้ชีวิต  เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะนำพาชีวิตเราไปสู่วัยเกษียณได้โดยไม่ต้องลำบาก   แต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลาศึกษาหรือติดตามข้อมูลการลงทุน ทาง Lief  เองมีให้บริการเรื่องเกษียณโดยเฉพาะ โดยเราพร้อมจะให้คำปรึกษาตั้งแต่การวางแผน ติดตาม และสรุปผลการลงทุนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญในการลงทุน เพื่อให้ท่านเอาเวลาไปใช้กับสิ่งที่ท่านต้องการโดยไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องเกษียณอีกต่อไปครับ

Share On :

“จะเกษียณยุคนี้ ต้องเจออะไรบ้าง”


จะเกษียณยุคนี้ ต้องเจออะไรบ้าง

เกษียณ 7.1

จากสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่สังคมไทยของเรานั้นเริ่มเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ (Aging  Society) อย่างเต็มตัว กล่าวคือ อัตราการเกิดของประชากรจะน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นและจำนวนของคนที่ทำงานน้อยลง รวมถึงระดับอัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพต่างๆ  ทั้งสินค้าและบริการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องบวกกับกำลังซื้อของคนลดลง จึงทำให้คนส่วนใหญ่ ที่เตรียมพร้อมเข้าสู่ความเกษียณในยุคปัจจุบัน ลำบากมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

จาก Charting

ช่วงอายุที่มีการกระจุกตัวอยู่มากคือช่วงอายุ 25-54 ปี โดยคิดจากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 66.17 ล้านคน  จะคิดเป็น 45.10% เป็นวัยทำงานส่วนใหญ่ และส่วนใหญ่มักจะเกษียณตอนอายุ 55-60 ปี ซึ่งข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2564 ที่ประมาณการอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยนั้นคือผู้ชายเท่ากับ 73.5 ปี ผู้หญิงเท่ากับ 80.5 ปี แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่เราจะต้องเจอในอีก 5-10 ปีข้างหน้านั้น คือ จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่จำนวนคนทำงานลดน้อยลง รวมถึงการแบกภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้สูงอายุในอนาคตอีกด้วย  

ในสังคมสูงวัย

ของประเทศไทย ผู้สูงอายุกำลังเผชิญความท้าทายที่สำคัญในการสร้างความมั่นคง ทางการเงิน เนื่องจากผู้สูงอายุอาจมีเงินเก็บและรายได้ไม่เพียงพอในการดำเนินชีวิตในวัยหลังเกษียณ นอกจากนี้ การออมระยะยาวยังเป็นความท้าทายสำหรับประชาชนส่วนมากอีกด้วยครับ และประเด็นที่น่ากังวล คือ คนไทยจำนวนมากยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องออมเพื่อวัยเกษียณนั่นเอง  

ในส่วนอัตราการจ้างงานในประเทศไทย

มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2013 โดยหดตัวเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 0.04 ต่อปี โดยกลุ่มแรงงานที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยแรงงาน ทั้งนี้ ในอีก 10 ปีข้างหน้า วัยแรงงานกลุ่มดังกล่าวจะทยอยเปลี่ยนผ่านเป็นผู้สูงอายุ อันเป็นสาเหตุให้สัดส่วนระหว่างจำนวนประชากรผู้พึ่งพิงต่อประชากร (Dependency ratio) ที่สามารถหารายได้ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำนวนแรงงานไทยที่ลดลงส่วนหนึ่งมาจากการเกษียณอายุและออกจากกำลังแรงงานก่อนวัยเกษียณ 

บทความนี้จึงขอรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ที่เราต้องเจอกันในยุคปัจจุบัน สำหรับคนที่ต้องการจะเกษียณหรือคนที่พร้อมจะเกษียณไว้ครับ   

  • เนื่องจากสังคมไทยกำลังจะเริ่มเข้าสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นทุกที  ตามสถิติต่างๆ ซึ่ง ประชากรในประเทศไทยกว่า 85 % ยังแทบจะไม่มีเงินเก็บเพื่อการเกษียณหรือไม่ได้วางแผนที่จะเกษียณอย่างจริงจัง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการลงทุน จะเป็นไปได้มั้ย ที่เราคนไทยจะต้องเตรียมการรับมือในสถานการณ์ดังต่อไปนี้ ซึ่งเราจะแบ่งสถานการณ์ในปัจจุบันที่ต้องเจอให้ดูครับ

  • สินค้าและบริการแพงขึ้น : วัดจากดัชนีผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าสาธารณูปโภค, พลังงาน โดยเฉพาะ เรื่องการศึกษาและสุขภาพ แต่กำลังซื้อของคนลดลง 

  • จำนวนประชากรที่น้อยลงมากขึ้น กล่าวคือ คนในยุคปัจจุบันเริ่มมีครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น จำนวนประชากรที่ทำงานน้อยลง ทำให้สัดส่วนของประชากรลดลงอย่างมีนัยยะ 

  • ระบบการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น ทำให้อายุของคนไทยจะมีอายุยืนยาวมากขึ้น  ยิ่งต้องเก็บเงินเพิ่มขึ้น  เพราะเวลาชีวิตยาวขึ้น

  • คนทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจในการลงทุน แถมยังมีรูปแบบการเก็บเงินในรูปแบบเงินฝากในสัดส่วนที่มาก 

  • ภาวะที่คนทำงานต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่มากขึ้น

บทสรุป

จากสถานการณ์ที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่เป็นสถานการณ์ที่คนในยุคปัจจุบันต้องเจอกันทั้งสิ้น เพื่อเตรียมตัวก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป้าหมายการเกษียณนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากของชีวิต แต่ในขณะเดียวกัน ผู้คนมักจะมองข้ามในส่วนที่ยังมาไม่ถึงและไปโฟกัสกับปัจจุบันซะมากกว่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราต้องอยู่รอดได้จากสถานการณ์ต่างๆ รวมไปถึงสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทยยังมีอยู่ในระดับจำกัด เราต้องเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ควรจะร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการร่วมกันกระตุ้นเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีการเตรียมวางแผนการออม การใช้ชีวิตในบั้นปลาย การปรับตัวทางด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุ รวมทั้งการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและการออมเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งเมื่อมีการบริหารจัดการและพัฒนาที่ดี เราจะพ้นวิกฤตได้ไม่ยากนักอย่างไม่ต้องกังวลจนเกินไปอีกด้วยนั่นเอง

Source : The Bureau of Registration Administration, Department of Provincial Administration http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_61.pdf National Statistical Office of Thailand http://popcensus.nso.go.th/quick_stat1.php?rg=1 and Central Intelligence Agency, the United States of America https://www.cia.gov/library/publications/resources/the-world-factbook/geos/th.html https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic สำนักงานสถิติแห่งชาติ CIA World Fact Book กระทรวงแรงงาน บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานคณะกรรการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ https://www.dop.go.th/th/know/15/926 https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf

Share On :

ใช้เงินไม่ยั้ง? เต็มที่วันนี้พรุ่งนี้ว่ากันใหม่


ใช้เงินไม่ยั้ง? เต็มที่วันนี้พรุ่งนี้ว่ากันใหม่

มีเงิน แต่ถ้าจัดการไม่ดี ซักวันก็จะหมดไป…..

อย่างที่หลายๆ คนทราบว่า การออมเงินเพื่อการเกษียณนั้นเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งการสร้างความมั่นใจให้กับการเงินของตัวเองในอนาคตเท่านั้น แต่อยากให้มองถึงอีกเรื่องหนึ่งก็สำคัญไม่แพ้กันคือ การตัดสินใจ ในการจะถอนเงินเพื่อจะนำออกมาใช้นั่นเองบางคนอาจจะคิดว่าเรามีเงินก้อนใหญ่ที่มาจากการหามาทั้งชีวิต จึงอยากจะใช้ให้เต็มที่กับเวลาที่เหลือ เพราะไหนๆ ก็อุส่าเหนื่อยหามาแล้ว นั่นถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ได้ผิดอะไรถ้าจะทำเช่นนั้น แต่สิ่งที่ควรจะตระหนักไว้ก่อนจะนำเงินออกมานั่นก็คือ เราควรวางแผนและนำมาปฏิบัติ เช่น เราจะมีแผนในการนำเงินออกจากบัญชีเกษียณอายุใช้อย่างไร เอาออกมาเท่าไหร่ และเมื่อไหร่ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีช่องทางและวิธีการเพิ่มพูนสินทรัพย์ให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แก่ผู้เกษียณอายุทั้งหลาย เราจะมาบอกถึงกลยุทธ์หรือเคล็ดไม่ลับสำหรับการถอนเงินออกมาใช้ให้เข้าใจ ถ้าหากใครยังไม่เกษียณก็สามารถรู้ไว้เพื่อเตรียมตัวสำหรับในอนาคตได้

กฎ 4%

เป็นการถอนเงินในอัตราส่วน 4% ของจำนวนเงินในพอร์ตเรา โดยพอร์ตเราควรจะมีสัดส่วนที่เป็นหุ้นอยู่ 60% และ 40% เป็นตราสารหนี้ โดยการจัดพอร์ตแบบนี้ นอกจากจะทำให้เรามีเงินใช้ไปตลอดระยะเวลา 30 ปีในช่วงเกษียณแล้ว เงินของเรายังเติบโตและยังเอาชนะอัตราเงินเฟ้อ อีกทั้งยังมีเงินคงเหลืออยู่ในพอร์ตอีกด้วย ถ้าสมมติว่านาย A เกษียณอายุและไม่มีเงินเดือนแล้วแต่มีเงินก้อนจาก เงินออมอยู่ที่ 5,000,000 บาทถ้วน และถ้าหากใช้กฎ 4% ข้างต้น นาย A จะสามารถถอนเงินเพื่อนำออกมาใช้ 200,000 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งหลังจากถอนเงินก้อนแรกออกมาแล้ว จะเหลือเงินอยู่ที่ 4,800,000 บาท นาย A ตัดสินใจนำเงินไปลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้น ที่จะได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ปีละ 7% และในปีต่อมา นาย A ก็ได้ถอนมาอีก 200,000 บาท แต่จะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อไปอีก 3% ซึ่งเท่ากับ 6,000 บาท รวมเป็นเงินที่จะถอนทั้งหมด 206,000 บาท และในปีต่อมาก็จะเพิ่มไปอีก 3% จากปีที่แล้วทบกันต่อไปเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี

ถอนเงินอย่างคงที่

ผู้สูงอายุบางคนจะมีวิธีในการนำเองเงินออกมาใช้อย่างคงที่หรือถอนเงินออกในยอดเดิมๆ เช่น การที่ฝากเงินไว้ในกระปุกออมสิน และถอนเงินเมื่อจำเป็นเพียงเท่านั้น หรือไม่ถอนเงินออกจากบัญชีเลยถ้าไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือการ ถอนเงินจำนวนเท่ากันในทุกๆ เดือน ไตรมาส หรือปี นั่นจะง่ายต่อการดูค่าใช้จ่ายมากกว่า อีกทั้งยังเป็นการตีกรอบรายจ่ายให้อยู่ในวงเงินที่เราถอนออกมาใช้เท่านั้น รายจ่ายจะไม่บานปลาย แต่ถ้าเป็นกรณีถอนเมื่อจำเป็นนั้น ต้องกล่าวว่าความจำเป็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกับคำว่า “ของมันต้องมี” ถ้าเราเห็นนั่นโน่นนี่จำเป็นไปหมด รู้ตัวอีกทีเงินคงหมดบัญชีไปแล้ว

เอาเงินจากปันผลมาใช้

สำหรับผู้ที่ลงทุนเอาไว้ใน กองทุน หุ้น พันธบัตร หรือตราสารหนี้ต่าง คือ ซึ่งวิธีนี้เราจะไม่มีการถอนเงินออกจากพอร์ตหรือการลงทุนเลย เพื่อเป็นการคงต้นทุนเพื่อรับปันผลให้เท่าเดิมหรืออาจจะมากกว่าเดิมดังนั้นเงินที่จะสามารถนำออกมาใช้ได้คือ เงินที่มาจากการจ่ายดอกเบี้ย หรือปันผลในเดือน ไตรมาส หรือปีนั้นๆ นั่นเอง ซึ่งถึงจะฟังแล้วอาจจะฟังดูดีถ้ามีเงินลงทุนเยอะก็รอใช้เงินแบบชิลๆ แต่คุณต้องตระหนักว่า วิธีนี้รายได้ของเราจะไม่มั่นคง เพราะรายได้เราจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของการลงทุนที่เรานำไปลงไว้

ใช้การจัดลำดับบัญชีสำหรับใช้จ่าย

เมื่อถึงเวลาตอนถอนเงินเราก็ต้องถอนออกมาอย่างเป็นระบบ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้ามคือ เราควรจะรู้ว่าควรถอนเงินออกจากบัญชีไหน หรือถ้าจะนำเงินไปใช้ผ่านบัตรเครดิตต่างใช้บัตรใด ที่จะได้สิทธิประโยชน์หรือนำไปลดภาาีให้ได้มากที่สุด บางทีวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผุ้เกษียณอายุ อาจจะเป็นการถอนเงินออกจากบัญชีออมทรัพย์และบัญชีในการลงทุนเพื่อนำมารวมกันก็ได้

บทสรุป

วิธีการนั้นมีหลากหลาย ดังนั้นคุณต้องเป้นคนตัดสินใจเองว่าคุณเหมาะกับวิธีไหนมากที่สุด โดยไม่ฝืนและขัดกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง วิธีการนั้นจะได้ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Share On :

Scroll to Top