ค่าจ้างแรงงานพุ่งสูงขึ้นจริงหรอ


กลยุทธ์ลงทุน "ลอยตัว" ชนะเงินเฟ้อด้วย Infrastructure

🌞Weekly update : 5 May 2022

👉 เราไม่เห็นการเวียนของค่าจ้างแรงงาน โดยพบว่าบริษัทต่างๆ จ่ายค่าแรงน้อยลงต่อหน่วยของผลผลิต เราคิดว่าค่าจ้างสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของอัตราเงินเฟ้อ
 
👉S&P 500 ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดใหม่ในปี 2022 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรายังคงเลือกเพิ่มสัดส่วนของหุ้นในฉากหลังของภาวะเงินเฟ้อ แต่ก็ได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย
 
👉 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ในสัปดาห์นี้เพื่อพยายามควบคุมเงินเฟ้อ เราคิดว่าผลรวมของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในท้ายที่สุดจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ค่าจ้างของสหรัฐฯ

👉  เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1980 นี่เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งเป็นวงจรของบริษัทต่างๆ ที่ให้เงินค่าจ้างที่สูงขึ้นโดยการขึ้นราคา ในความเป็นจริง เราพบว่าบริษัทต่างๆ จ่ายเงินค่าแรงต่อหน่วยของผลผลิตน้อยกว่าก่อนเกิดโรคระบาด เนื่องจากผลิตภาพและราคาที่สูงขึ้น เราเชื่อว่าค่าจ้างสามารถเพิ่มขึ้นได้อีก

ค่าจ้าง

👉 ที่วัดโดยดัชนีต้นทุนการจ้างงานพุ่งขึ้น 5% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1980 (เส้นสีชมพูในแผนภูมิ) บางคนบอกว่านี่เป็นหลักฐานของตลาดงานที่มีความร้อนแรงเกินไป และเป็นตัวตั้งต้นที่ทำให้ราคาผู้บริโภคพุ่งสูงขึ้น แต่ค่าแรงที่สูงขึ้นไม่ได้หมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเสมอไป
 
📍สิ่งที่สำคัญสำหรับบริษัทคือต้นทุนแรงงานต่อหน่วยที่แท้จริง: จำนวนเงินที่บริษัทจ่ายให้กับคนงานในการผลิตหน่วยของผลผลิตที่สัมพันธ์กับราคาขายของหน่วยนั้น ข้อมูลของสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐระบุว่า คนงานในสหรัฐฯ มีประสิทธิผลมากกว่าก่อนเกิดโรคระบาด 4.5% ฉนั้นค่าจ้างจริง ๆ ที่ได้รับถือว่าลดลง
 

บทสรุป

Blackrock ยังคงเลือกลงทุนให้หุ้นกลุ่มตลาด DM มากกว่า EM แต่ต้องยอมรับว่าความท้าทายนั้นมากขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้า ยังแนะนำให้เพิ่มหุ้น US , Japan และ จีน กับยุโรปเล็กน้อยโดยทั้ง 2 ประเทศหลังมีความเสี่ยงมากกว่าจากความท้าทายด้านโควิดสำหรับจีน และค่าเงินเยนของญี่ปุ่นที่อ่อนต่อเนื่องจากนโยบายทางการเงิน ** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยบทความนี้มิใช่สิ่งชี้นำซื้อขายการลงทุนแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงแค่การให้ความรู้และข้อมูลที่ช่วยให้เพิ่มมุมมองในการลงทุนเท่านั้น **

Share On :

พูดถึงความน่าสนใจของหนี้ในตลาด EM


พูดถึงความน่าสนใจของหนี้ในตลาด EM

Blackrock

👉 แสดงความเห็นว่า พวกเขาชอบหนี้ตลาดเกิดใหม่ (EM) มากกว่าหนี้ในตลาดพัฒนาแล้ว (DM) จากการประเมินมูลค่าก็น่าสนใจ แต่ภาพรวมของพอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ยังคงสัดส่วนที่น้อยลง
 
👉 ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐแตะระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 3 ปีในสัปดาห์ที่แล้ว และหุ้นปรับตัวลง ซึ่งคิดว่าหุ้นยังสามารถต้านทานการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนจากภาวะเงินเฟ้อได้
 
👉ข้อมูลเขตสหรัฐและยูโรในสัปดาห์นี้อาจแสดงให้เห็นว่าอุปทานที่ขาดแคลนจากสงครามยูเครนส่งผลกระทบต่อการเติบโต ซึ่งยุโรปได้รับผลกระทบมากกว่าสหรัฐฯ
 
👉อัตราเงินเฟ้อและการพูดคุยของธนาคารกลางทำให้นักลงทุนกลัวและนำไปสู่การขาดทุนของพันธบัตรที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่ช่วงปี 1980 ในตลาดที่พัฒนาแล้ว (DMs) ส่วนตลาด EM ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแม้กระทั่งก่อนการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตลาด DM ที่สูงขึ้น
 
👉ข่าวดีคือธนาคารกลางของตลาด EM หลายแห่งได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อพยายามควบคุมเงินเฟ้อไปก่อนแล้วซึ่งได้สร้างผลตอบแทนและการประเมินมูลค่าสกุลเงินที่น่าสนใจในมุมมองของเรา

ปี 2022

เป็นปีที่แย่สำหรับพันธบัตรทั่วโลก – ยกเว้นในบางมุมของโลกเกิดใหม่ 

คำถามคือทำไม เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและอุปทานที่ตกต่ำทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้า พลังงาน และอาหารที่ทำให้ราคาสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ได้กระตุ้นให้ธนาคารกลาง DM ส่งสัญญาณการปรับนโยบายและส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น 

หนี้ EM สกุลเงินท้องถิ่น

(เส้นสีแดงในแผนภูมิ) ได้รับผลกระทบคู่ไปกับพันธบัตรของสหรัฐฯ (เส้นสีเขียว) สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าดัชนี EM แบบกว้างซ่อนความแตกต่างไว้มากมาย หนี้สกุลเงินท้องถิ่นของผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ละตินอเมริกา (เส้นสีเหลือง) และตะวันออกกลางและแอฟริกาได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากราคาที่สูงขึ้น ซึ่งดีกว่าหนี้ที่บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ในเอเชียและยุโรป (เส้นสีม่วง) หลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่รัสเซียบุกยูเครน

บทสรุป

ทาง Blackrock เชื่อว่าหุ้นยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น และภาพรวมของพอร์ตการลงทุนนั้นยังควรลดสัดส่วนของตราสารหนี้ โดยย้ายการลงทุนตราสารหนี้ไปยังกลุ่มประเทศ EM มากขึ้นและเชื่อว่าตราสารหนี้ที่เชื่อมโยงกับเงินเฟ้อยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่ดีกว่าพันธบัตรรัฐบาลของกลุ่มประเทศ DM ** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยบทความนี้มิใช่สิ่งชี้นำซื้อขายการลงทุนแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงแค่การให้ความรู้และข้อมูลที่ช่วยให้เพิ่มมุมมองในการลงทุนเท่านั้น **

Share On :

ทำไมหุ้นถึงยังน่าลงทุนในขณะที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น


ทำไมหุ้นถึงยังน่าลงทุนในขณะที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น

หุ้น

👉 มีความน่าสนใจ ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการเติบโตทั่วโลกที่ยังแข็งแกร่ง และเราเห็นว่าธนาคารกลางยอมรับว่าต้องอยู่กับเงินเฟ้อ
 
👉 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่ออาทิตย์ก่อน และหุ้นปรับตัวลง ธนาคารกลางยุโรปยืนยันมุมมองของเรา (Blackrock) ว่านโยบายจะค่อย ๆ เข้าสู่ระดับปกติอย่างช้า ๆ
 
👉 ข้อมูลความเชื่อมั่นในอาทิตย์นี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของเศรษฐกิจจากสงครามในยูเครน และข้อมูล GDP ของจีนอาจแสดงให้เห็นว่าการปิดเมืองส่งผลต่อการเติบโตได้อย่างไร

ผลตอบแทนพันธบัตร

👉 พุ่งสูงขึ้นจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และการแสดงความเห็นของธนาคารกลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับหุ้นอย่างมากหากมองจากอดีตแต่เราเชื่อว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาจากอุปทานซึ่งจะค่อย ๆ ดีขึ้น
 
👉 เงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้นสร้างความกังวลให้ตลาดหุ้นโดยเฉพาะหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้กระแสเงินสดในอนาคตน่าสนใจน้อยลง แต่เราเชื่อว่าความกลัวเกี่ยวกับการปรับตัวลงของหุ้นในอนาคตสูงไป
 
👉ตลาดกำหนดราคาขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับดอกเบี้ยเป็น 3% ในปีหน้า ตามด้วยการปรับระดับเป็น 2.5% ในเวลาห้าปี (เส้นประสีเขียวในแผนภูมิ) ซึ่งสูงกว่าเดือนที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด (เส้นประสีชมพู) ก่อนที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยและเริ่มพูดถึงเรื่องเงินเฟ้ออย่างหนัก
 

คำถามคือ

หากนักลงทุนคาดว่า เงินเฟ้อจะยังคงร้อนแรงต่อไปแบบนี้ อีกสักระยะ จะมีทางเลือกการลงทุนใดบ้างที่พอจะเป็นทางเลือกในช่วงภาวะปัจจุบันนี้  ?

หากพิจารณาจากข้อมูลผลตอบแทนกลุ่มสินทรัพย์ กับ อัตราเงินเฟ้อจะพบว่า (แกนนอน ภาพที่ 1 ในคอมเม้น) เราจะพบว่า แต่ละกลุ่มมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ อาจได้รับผลกระทบในด้านลบ เมื่อเงินเฟ้อสูง แต่สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้

ในอีกด้านหนึ่ง

หากมองว่านักลงทุนมีการจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงอยู่แล้ว (เช่น หุ้น 60% ตราสารหนี้ 40%) การตัดสินใจลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อาจแหวกแนวไปหน่อย ไม่มีความถนัดมากนัก หรือยังอยากลงทุนหลักทรัพย์ที่มีการเติบโตได้มากหน่อย การเลือกกระจายความเสี่ยงไปยังกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากเติบโตได้ดีในยามเงินเฟ้อสูง ผลตอบแทนไม่ได้น้อยไปกว่าหุ้นเท่าไหร่นัก แถมยังช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตได้ด้วย

แล้วทำไมกลุ่ม Infrastructure ถึงยังจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ ในยามเงินเฟ้อสูง และน่าจะคาดหวังได้ประมาณเท่าไหร่ ?

บทสรุป

เราเชื่อว่าหุ้นจะยังสามารถเติบโตได้เนื่องจากธนาคารยอมรับที่จะอยู่กับเงินเฟ้อไปอีกระยะเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเชื่อว่าผลตอบแทนระยะยาวอาจปรับตัวสูงขึ้นอีกจากการที่นักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยเงินเฟ้อ ( ชอบหุ้นใน US , Japan ) และชอบ EU แต่น้อยกว่า 2 ประเทศก่อนหน้าเล็กน้อยจากผลกระทบด้านต้นทุนที่เกิดจากสงครามในยูเครนที่อาจส่งผลต่อกำไรของบริษัท และจีนที่มีโอกาสเติบโตแต่อาจชะลอจากมาตรการ Net-Zero Covid ** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยบทความนี้มิใช่สิ่งชี้นำซื้อขายการลงทุนแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงแค่การให้ความรู้และข้อมูลที่ช่วยให้เพิ่มมุมมองในการลงทุนเท่านั้น **

Share On :

Scroll to Top