LIEF BOND OPPORTUNITY

Lief capital Asset Management

โอกาสสร้างผลตอบแทนถึง 5.76 % ต่อปี

ด้วยกองทุนส่วนบุคคล นโยบาย Lief Bond Opportunity (LBO)

หนึ่งในสินทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุนยามดอกเบี้ยสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2001 คือ ตราสารหนี้สหรัฐฯ แต่ถ้าจะลงทุนให้ได้ผลดี ต้องมีกลยุทธ์ กองทุนส่วนบุคคล ของ บลจ.ลีฟแคปปิตอล ช่วยให้ท่านไม่พลาดโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ด้วยนโยบายการลงทุนผ่าน ETF กลุ่มตราสารหนี้อายุสั้น – กลาง ปรับพอร์ตโดยทีมผู้จัดการกองทุน เพื่อรองรับสภาวะการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน

กองทุนนี้เหมาะกับใคร ?

กองทุน LBO เป็นทางเลือกที่น่าสนใจกับนักลงทุนที่

  • Finding Opportunity

    ต้องการสร้างผลตอบแทนจากภาวะดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง

  • Conservative Investing

    ต้องการมองหาการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้

  • Diversified Investment

    ต้องการกระจายความเสี่ยงด้วย ETF ลดความผันผวน ไม่กระจุกตัว

  • Professional

    มีผู้จัดการกองทุน ติดตามสภาวะดอกเบี้ย และปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับสถานการณ์

  • Currency Hedging

    ต้องการกลไกการบริหารความเสี่ยงค่าเงิน ที่อาจส่งกระทบต่อผลตอบแทนได้

ศึกษารายละเอียดกองทุนทั้งหมดได้ที่นี่

สรุปกลยุทธ์การลงทุน

กองทุนจะดำเนินการลงทุนใน ETF ตราสารหนี้ ที่มีอายุสั้น เฉลี่ยทั้งพอร์ตไม่เกิน 2 ปี เพื่อรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย (Income) เป็นหลัก

เศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือกลุ่ม DM ไม่มีการถดถอยอย่างรุนแรง หรือมีการฟื้นตัว ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อชะลอตัวตามคาด ฝ่ายจัดการลงทุนจะปรับพอร์ต โดยคัดเลือกหลักทรัพย์ ETF ตราสารหนี้ ที่มีอายุตราสารที่ยาวขึ้น เพื่อสร้างผลตอบแทน กำไรราคาตลาด (Capital Gain) จากการปรับลดลงของดอกเบี้ย

กองทุนจะเลือกลงทุนใน ETF ตราสารหนี้ ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยในระดับที่เหมาะสม ต่อไป โดยทางฝ่ายจัดการลงทุน จะปรับพอร์ตในสัดส่วนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเงินลงทุนเป็นหลัก

แบบฟอร์มแสดงความสนใจ

LBO Form

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

1. ทำไมต้องตอนนี้ ?

  • โอกาสลงทุนคาดว่าจะคงอยู่ไม่นาน อัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ระยะสั้น กลาง อยู่ในระดับสูง จากภาวะ Inverted yield curve ในขณะที่ความเสี่ยงจากการลงทุน ถือว่าค่อนข้างต่ำ ลูกหนี้คือรัฐบาลสหรัฐ หรือบริษัทที่มีสถานะการเงินแข็งแรง ซึ่งสภาวะนี้ เมื่อเศรษฐกิจมีการฟื้นตัว ผลตอบแทนดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะกลับมาอยู่ในภาวะปกติ

 

  • ประกอบกับโอกาสในการสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากราคาตลาดของตราสารหนี้ หากมีการปรับตัวลงของดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งทางฝ่ายจัดการลงทุน คาดว่ารอบของการขึ้นดอกเบี้ยของ FED กำลังจะจบลง หลังจากมีการปรับขึ้นมาถึงระดับสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2001

2. ความเสี่ยงช่วงสั้นมีอะไรต้องกังวล ?

  • ความเสี่ยงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้นต่อ ในช่วงไตรมาส 4 เพื่อกำราบเงินเฟ้อให้ชะลอลงต่อ ซึ่งจะมีผลกระทบด้านลบต่อสินทรัพย์ตราสารหนี้ แต่จะกระทบกับกลยุทธ์ LBO ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเราเลือกตราสารหนี้อายุสั้น
  • ความเสี่ยงเศรษฐกิจ ชะลอตัว ถดถอยอย่างรุนแรง ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงให้มีโอกาสที่อาจเกิดการผิดนัดชำระหนี้ได้ ซึ่งกลยุทธ์ LBO มีการกระจายความเสี่ยงด้วย ETF ที่ถือหลักทรัพย์หลายพันตัว ช่วยลดผลกระทบได้อย่างดี
  • ความผันผวนของค่าเงิน USD/THB ซึ่งค่อนข้างมีนัยสำคัญ ที่อาจส่งผลให้ ผลตอบแทนจากการลงทุนในลักษณะ Income สูญหาย หรือถึงกับขาดทุนได้ แต่ด้วยรูปแบบกองทุนส่วนบุคคล ทำให้ฝ่ายจัดการลงทุนมีการใช้กลไกป้องความเสี่ยงค่าเงิน ตามสภาวะความผันผวน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบได้บางส่วน หากค่าเงินมีปัจจัยผันผวนเข้ามากระทบเพิ่มเติม

3. ผลตอบแทนจะสูงกว่านี้ได้ไหม จากปัจจัยอะไรบ้าง และคาดหวังได้เท่าไหร่ ?

  • กลยุทธ์ LBO เน้นสร้างผลตอบแทนในรูปแบบ Income จากดอกเบี้ยของ ETF ที่เลือกลงทุนเป็นหลัก แต่หากพิจารณาถึงโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการปรับลดลงของดอกเบี้ยนโยบาย ณ ช่วงปลายปี 2024 จะสามารถประเมินตามกรณีสมมติฐานได้ดังตาราง ซึ่งหากพิจารณาจาก Duration ของ LBO ที่ 1.41 ปี และหากอัตราดอกเบี้ยต่อปี ปรับลงไปที่ระดับ 4.25% ในช่วงสิ้นปี 2024 พอร์ตจะได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติม (Capital Gain) +1.86%

FED policy rate at the end of 2024 

Average Duration (Years) 

1.41 (LBO Port)   

 3.98  

 7.83  

5.75 % 

-0.37% 

-0.99% 

-1.96% 

5.55 % 

0.00% 

0.00% 

0.00% 

5.25 % 

0.37% 

0.99% 

1.96% 

5.00 % 

0.74% 

1.99% 

3.91% 

4.75 % 

1.12% 

2.98% 

5.87% 

4.50 % 

1.49% 

3.98% 

7.83% 

4.25 % 

1.86% 

4.97% 

9.78% 

* การเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดสินทรัพย์ตราสารหนี้ อาจมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยการลงทุนหลายด้าน ข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงตัวอย่างประมาณการณ์เท่านั้น ไม่ใช่ผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต

4. กองทุนส่วนบุคคลได้เปรียบอย่างไร ?

  • มีผู้จัดการกองทุน ติดตามสภาวะการลงทุน คัดเลือกหลักทรัพย์ และปรับพอร์ตให้สอดคล้อง เพื่อผลประโยชน์ของนักลงทุนอยู่เสมอ โดยเฉพาะ กลยุทธ์ LBO ที่จะต้องมีการดำเนินกลยุทธ์ในแต่ละช่วงของการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเหมาะสม

  • มีเครื่องมือช่วยบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน

  • เงินลงทุนทำงานตามกรอบนโยบาย อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด แม้นักลงทุนจะมีภารกิจ หรือยุ่งแค่ไหน ก็ไม่พลาดโอกาสลงทุน

5. ถอนก่อนกำหนดได้ไหม ?

    • นักลงทุนสามารถ ลดทุน หรือยกเลิกกองทุนส่วนบุคคล เมื่อใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลา โดยทาง บลจ.จะใช้เวลาดำเนินการขายหลักทรัพย์และนำเงินคืนสู่บัญชีลูกค้าภายใน 15 วันทำการ

6. ทำไมต้อง 1 ล้าน ?

  • เนื่องจากกองทุนส่วนบุคคล จำเป็นต้องมีการจัดตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน เพื่อให้ธุรกรรมและการจัดเก็บสินทรัพย์เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็นรายกองทุน ที่ 0.03 % ต่อปี ขั้นต่ำ 500 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนสุทธิที่ลูกค้าได้รับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากเงินลงทุนตั้งต้นไม่สูงนัก

7. สนใจเปิดบัญชี สามารถทำได้ช่องทางใดบ้าง ?

  • เปิดบัญชี Online ผ่านทาง Lief Application ทั้ง iOS และ Android 

  • เปิดบัญชีด้วยเอกสารลงนาม โดยแจ้งความประสงค์ได้ที่ Line Official ID : @Liefcapital หรือ https://lin.ee/5d3DQ6y 

สอบถามเพิ่มเติม / ติดต่อเจ้าหน้าที่

เพียงแค่ @Line official : @liefcapital เรายินดีให้บริการท่านด้วยความเต็มใจ

ติดต่อเรา

แนวโน้มดอกเบี้ยมีการปรับตัวลดลงสู่ระดับ 4.435 % ในช่วงสิ้นปีหน้า (2024)

ข้อมูลสำรวจจาก Bloomberg ณ วันเดือน กันยายน 2023 ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลงประมาณ 1.00% จากระดับดอกเบี้ยปัจจุบัน และมีผลสนับสนุนให้ราคาสินทรัพย์ตราสารหนี้ มีมูลค่าตลาดสูงขึ้น

ดอกเบี้ยขาลง ตราสารหนี้อายุยาวกว่า เก็บตุนผลตอบแทนได้ดีกว่า

การเข้าลงทุนตราสารหนี้ เพื่อล็อคผลตอบแทนดอกเบี้ยที่จุดสูงสุด คือกลยุทธ์ที่ดี แต่หากถือตราสารหนี้อายุสั้นเกินไป ในช่วงที่ดอกเบี้ยเป็นขาลง อาจทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวต่ำกว่าที่คาด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยถูกปรับลง (Coupon Reset) ตามดอกเบี้ยในตลาดบ่อยกว่า ตัวยาว

ลงทุนตราสารหนี้ ดีกว่า ถือเงินสด

ถึงแม้ว่าการฝากออกมทรัพย์ (ใน US) จะให้ผลตอบแทนที่สูงน่าสนใจ แต่จากข้อมูลสถิติ ตั้งแต่ปี 94 พบว่าหลังจากธนาคารกลาง (FED) มีสัญญาณหยุดการขึ้นดอกเบี้ย การลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนใหญ่แล้วให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการถือเงินสด หรือการลงทุนในกองทุนตลาดเงิน (Money Market) ​หากพิจารณาดี ๆ พบว่าเพียงแค่ ตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-term) กลับให้ผลตอบแทนสูงถึง 7.5 % เลยทีเดียว ​

เข้าไปรอก่อนไม่เสียหาย ถ้าเป็นคนท้ายๆ อาจได้ไม่คุ้มเสีย

ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ตราสารหนี้ ในภาวะที่ดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง กลับทิศ (ในกรณีนี้คือปรับลดลง) เฉลี่ยย้อนหลังในอดีต สรุปได้ว่า ถ้าคุณเข้าลงทุนก่อน FED จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย สัก 1 – 3 เดือน ถือว่าไม่เสียหายมาก คือยังไม่มีกำไรหรือขาดทุนชัดเจน (แม้ว่า FED อาจจะขึ้นดอกไปอีก)

แต่หากเข้าลงทุนช้าไป คือประมาณ 3 และ 5 เดือน หลังจากการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย ผลตอบแทนของการลงทุนตราสารหนี้ จะบวกขึ้นไปล่วงหน้าแล้วกว่า 5.96 % และ 9.25 % ตามลำดับ
Scroll to Top