PROXY VOTING

Lief capital Asset Management

บริษัทได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจัดการในนามกองทุนส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัท รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลตามแนวทางดังต่อไปนี้

1.บริษัทจัดการจะใช้สิทธิออกเสียงโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้ากองทุนส่วนบุคคล ภายใต้การบริหารเป็นสำคัญ

2.บริษัทจัดการจะใช้สิทธิออกเสียงในวาระการประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการต่าง ๆ ที่กองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการลงทุนอยู่ ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากลูกค้า ยกเว้น กองทุนที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์จะใช้สิทธิออกเสียงเอง บริษัทจะดำเนินการจัดส่งเอกสารให้กับลูกค้าตามวาระการประชุมที่เกิดขึ้น

3.บริษัทจัดการจะใช้สิทธิออกเสียงสนับสนุน สำหรับวาระการประชุมที่บริษัทจัดการคาดว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ถือหลักทรัพย์หรือมูลค่าหุ้น (shareholder value) และวาระการประชุมปกติทั่วไป ซึ่งบริษัทจัดการมีแนวทางสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของฝ่ายบริหารของบริษัทที่กองทุนลงทุน โดยพิจารณาจากหลักการและขอบเขตของธุรกิจ เป็นต้น

4.บริษัทจัดการจะใช้สิทธิออกเสียงคัดค้าน สำหรับวาระการประชุมที่บริษัทจัดการคาดว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อ สิทธิ หรือ ผลประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ รวมถึงวาระหรือประเด็นใด ๆ ที่มิได้มีการบอกกล่าวหรือแจ้งล่วงหน้าในหนังสือเชิญประชุม

5.บริษัทจัดการจะใช้สิทธิงดออกเสียง  สำหรับวาระการประชุมที่ไม่มีข้อมูลในการพิจารณาล่วงหน้า เช่น วาระที่เปิดให้นักลงทุนเสนอความคิดเห็น หรือ วาระอื่น ๆ 

6.ในกรณีที่ การประชุมมีประเด็นที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจัดการจะดำเนินการออกเสียงโดยคำนึงถึงผลประโยชน์กองทุนภายใต้การบริหารเป็นสำคัญ

7.บริษัทกำหนดให้เรื่องดังต่อไปนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ถือได้ว่าอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนซึ่งบริษัทจัดการควรดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น มีดังต่อไปนี้

7.1 ฐานะการเงินผลการดำเนินงาน การจ่ายเงินปันผล ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้น จะ ได้รับหรือต่อมูลค่าหุ้น (Shareholder’s value)

7.2 การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญการซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวมกิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงำกิจการ ทั้งนี้ ทรัพย์สินสำคัญ ได้แก่  ทรัพย์สินที่บริษัทได้มา หรือ จำหน่ายไปจากการตกลงเข้าทำรายการตามที่กำหนดในประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและการเปิดเผยเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไป ซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนโดยอนุโลม

7.3 การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการหรือผู้สอบบัญชีของบริษัท

7.4 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมเสียประโยชน์ เช่น  การเพิ่มทุน โดยไม่เสนอให้กับผู้ถือหุ้นเดิม

7.5 การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัท  การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการ และ พนักงานของบริษัท

7.6 การทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นหรือการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ทั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นได้แก่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วน ตามมาตรา 258 (1) ถึง (7) ของผู้ถือหุ้น

7.7 การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัท หรือวัตถุประสงค์ของบริษัท การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท

8. บริษัทมีแนวทางในการเปิดเผยการใช้สิทธิออกเสียง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

8.1 สำหรับหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้จัดการ กองทุนจะเป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียง โดยจะพิจารณาจากเรื่องสำคัญข้างต้น และตัดสินใจใช้ สิทธิออกเสียงในทุกรายการตามที่ผู้จัดการกองทุนเห็นสมควร

8.2 สำหรับกองทุน ETF ต่างประเทศนั้น บริษัทจะพิจารณาออกเสียงในประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อกองทุนในระดับของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยบริษัทจัดการ  (ETF Provider)  ผู้ออกกองทุน ETF นั้น ๆ จะเป็นผู้เข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิ์ออกเสียงในรายหลักทรัพย์ ตามนโยบายการใช้สิทธิ์ของบริษัทจัดการกองผู้ออกกองทุนที่กำหนดไว้

8.3 กรณีการลงทุนในบริษัท หรือหลักทรัพย์ที่สัดส่วนต่ำและไม่มีนัยสำคัญต่อสิทธิการออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เช่น นโยบายการลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงหลักทรัพย์จำนวนมาก ทางผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณา ไม่ใช้สิทธิ์ออกเสียงได้ เนื่องจากมีต้นทุนการดำเนินการค่อนข้างสูง และอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกองทุน

รายละเอียดการใช้สิทธิ์ออกเสียงของกองทุนส่วนบุคคล ในรอบปี 2565

รายละเอียดการใช้สิทธิ์ออกเสียงของกองทุนส่วนบุคคล ในรอบกลางปี 2566

รายละเอียดการใช้สิทธิ์ออกเสียงของกองทุนส่วนบุคคล ในรอบสิ้นปี 2566

Scroll to Top