INSIGHT
Lief capital Asset Management

วิถีการทำงาน และการใช้ชีวิตใน 3 ปี ที่ผ่านมาสรุปว่ามีการเปลี่ยนแปลงไว้แค่ไหน

3 ปีหลังจากการระบาดของโควิด-19 พนักงานร้านอาหาร ร้านค้า และโรงเรียนได้ทยอยกลับมาทำงานในระดับที่ปกติยิ่งขึ้น
ขณะที่พนักงานที่นั่งทำงานอยู่ออฟฟิศหายไปกว่าครึ่งโดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่าพื้นที่การใช้งานออฟฟิศในสหรัฐฯ ลอนดอน และปารีสอยู่ที่ระดับ 50.1%, 32.0% และ 54.0% ตามลำดับในช่วงกลางปี 2022 โดยข้อมูลได้แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ขณะที่ข้อมูลในเอเชียแสดงให้เห็นว่าพื้นที่การใช้ออฟฟิศในโซลและโตเกียวกลับสู่ระดับ 75.0% แล้ว
เมื่อกลับมามองเหตุการณ์ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีพนักงานเพียง 8.20% ในสหรัฐฯ เท่านั้นที่ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) ในทุก ๆ วัน ขณะที่ในปัจจุบันข้อมูลระบุว่า 49.0% ของพนักงานทำงานแบบผสม 35.0% ของพนักงานกลับไปนั่งออฟฟิศแบบเต็มเวลาและ 17.00% ทำงานแบบ Work from home เต็มรูปแบบ ซึ่งสิ่งนี้ไม่เพียงสะท้อนวัฒนธรรมการทำงานในออฟฟิศแบบใหม่เท่านั้น แต่บริษัทต่าง ๆ ในหลาย ๆ อุตสาหกรรมต้องเผชิญความท้าทายในรูปแบบการทำงานใหม่นี้ และเพื่อปรับตัวสู่การทำงานแบบผสมผสานที่เพิ่มขึ้นบริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถเพียงคำนวณพื้นที่การทำงานใหม่แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่ให้สอดคล้อง
นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมจาก IDC คาดว่า การใช้จ่ายของบริษัทในด้านระบบการทำงานใหม่จะเพิ่มขึ้น 18.80% ต่อปีโดยจะมีมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 และในขณะที่หลาย ๆ บริษัทกำลังพยายามให้พนักงานกลับมาทำงานที่โต๊ะ เราเห็นบริษัทอย่าง Airbnb, Coinbase และ Shopify กลับเพิ่มการทำงานจากบ้าน (Work from home) กว่า 2 เท่าและทยอยปิดสำนักงาน อีกทั้งกลุ่มแรงงานคุณภาพรุ่นใหม่ที่มองหารูปแบบการทำงานจากบ้านก็เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่ม The subreddit r/digitalnomad ที่เป็นกลุ่มสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานจากสถานที่ห่างไกลมีสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากในปี 2021 ที่ 1 ล้านรายสู่ 2 ล้านรายในปี 2022 สะท้อนเทรนด์ใหม่ที่น่าจะอยู่ต่อไปหลังยุคโควิด-19
ส่วนความพร้อมด้านดิจิทัลในปัจจุบันนั้นโลกเรายังคงต้องการอะไรที่มากไปกว่า Zoom video หรือ Teams chat โดยในเดือนเมษายน 2020 CEO ของ Microsoft กล่าวในการประชุมว่าเราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลที่ปกติใช้เวลา 2 ปีเกิดขึ้นในเวลาเพียง 2 เดือน โดยในช่วงที่เกิดการปิดเมือง (Lockdown) ร้านค้าต่าง ๆ จากที่ไม่เคยอยู่บนเว็บไซต์ก็พยายามเอาตัวเองเข้าสู่โลกออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกต่อลูกค้าให้มากขึ้นหรือแม้กระทั่งเชฟระดับมิชลินสตาร์เองก็เข้าร่วมกับร้านอาหาร
บนแอปพลิเคชันอาหารออนไลน์มากขึ้นส่งผลให้รายได้จาก Software as a Service (SaaS) เติบโตขึ้น แต่กระแสดังกล่าวก็ได้ลดลงอย่างรวดเร็วโดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการเติบโตช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสูงถึงปีละ 27.00% แต่ก็มีการคาดการณ์ว่ารายได้จาก SaaS จะเติบโตลดลงเหลือปีละ 20.00% ในช่วง 4 ปี ข้างหน้า
อย่างไรก็ตามแม้การเติบโตของรายได้จะลดลงและส่งผลกระทบต่อการประเมินมูลค่า แต่อุตสาหกรรมดังกล่าวยังคงเติบโตเร็วกว่า Software กลุ่มอื่น ๆ กว่า 2 เท่า อีกทั้งยังเติบโตเร็วกว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีกว่า 3 เท่าในช่วงที่มีการควบคุมการระบาดร้านค้าส่วนใหญ่ได้ปิดให้บริการส่งผลให้สัดส่วนการขายปลีกผ่านช่องทาง e-commerce ในสหรัฐ ฯสูงขึ้นจาก 11.10% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2019 ไปสูงสุดที่ 16.40% ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2020

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อการควบคุมโรคระบาดยกเลิกและร้านค้ากลับมาเปิดให้บริการตามปกติสัดส่วนการขายปลีกผ่านช่องทาง e-commerce ก็ได้ลดลงสู่ระดับ 14.30% ในช่วงไตรมาส2 ปี 2022 อย่างไรก็ตามสัดส่วนได้กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4 ปี 2022 เป็น 14.90% ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดค่อนข้างมาก รวมถึงกิจกรรม เช่นการออกกำลังกายเมื่อยิมปิดให้บริการและการออกกำลังกายนอกบ้านถูกสั่งห้ามไม่ให้ทำ บริการที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายออนไลน์ก็เติบโตขึ้นอย่างมาก
โดยหลังจากการระบาดสิ้นสุดมีการสำรวจในปี 2022 ถึงบริการฟิตเนสและพบว่ามีสมาชิกกลับมาใช้บริการฟิตเนสเพียง 50.00% โดยที่ 28.00% ไม่ได้กลับมาใช้บริการและมีอีก 31.00% ที่ออกกำลังกายลดลง ขณะเดียวกันข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายออนไลน์ได้เติบโตขึ้น เช่น การปั่นจักรยานในร่มหรือการวิ่งได้เติบโตเร็วกว่ากิจกรรมนอกบ้าน
กลับมามองในส่วนของโรงหนังพบว่าในอนาคตมีความไม่แน่นอนสูงจากการที่ต้องปิดตัวไปเมื่อช่วงปี 2020 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ โดยในปี 2021 และ 2022 แม้ว่ารายได้จะเติบโตกว่า 70.00% และ 27.00% ตามลำดับเทียบกับปีก่อนหน้า แต่หากมองภาพรวมจะพบว่ารายได้ของโรงหนังรวมทั้งปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2019 แล้วยังต่ำกว่าถึง 39.00% โดยพฤติกรรมการดูหนังของคนเปลี่ยนแปลงไปจากเทคโนโลยีและบริการ Streaming ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น


You must be logged in to post a comment.