ทำไมเราถึงทนถือขาดทุนได้นาน ? แถมยังถัวให้ช้ำไปอีก ?



ว่ากันด้วยเรื่อง Loss Aversion และทางแก้ไข
Loss Aversion คือพฤติกรรมของนักลงทุนแบบหนึ่ง ที่มักจะรู้สึกเจ็บจากการสูญเสีย (ขาดทุน) มากกว่า > การจะมีความสุขจากการได้รับ (กำไร) แม้ว่ามันจะมีมูลค่าตัวเงินเท่ากัน ก็ตามกำไรกองทุน 2,000 มันเฉยๆ เทียบไม่ได้เลยกับขาดทุน 2,000 โคตรกลุ้มจริงๆแล้วมาจาก สัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ที่แผงใน DNA มาตั้งแต่อดีตกาล (อ่า…โล่งอก รอดตัวไป) และมันก็ทำให้เผ่าพันธุ์เรายังรอดมาได้จนทุกวันนี้ รอดในการดำรงชีวิตอ่ะใช่ แต่อาจไม่เหมาะกับตลาดทุนเพราะยิ่งนักลงทุนที่เห็นการขาดทุนเป็นเรื่องน่าเจ็บใจมากเท่าไหร่ ก็จะทำทุกทางเพื่อปฏิเสธความรู้สึกนั้น คือไม่อยากยอมรับความจริง และมักจะนำไปสู่การตัดสินใจครั้งต่อไปที่ผิดพลาดมากขึ้น เช่น
– ถัวเพิ่มมันเลย เพราะอยากให้มันกลับไปเท่าทุนเร็ว ๆ ยิ่งลง ยิ่งซื้อ- ถัวแล้วลงต่อ เงินสดไม่มีละ ไปขายกองดีๆ ที่กำไรมาอีก (เพราะไม่อยากให้กองกำไร กลับมาเป็นขาดทุน จะเจ็บซ้ำสอง รีบขายดีกว่า)- ถัวจนหมด ก็จะแกล้งทำเป็นลืม ๆ ไป หวังว่าเดี๋ยวมันจะดีขึ้นเอง กลายเป็น VI เฉย
– แม้จะบอกว่าไม่สนใจ แต่หูจะฟังได้ยินแต่ข่าวร้าย กลุ้มหนักกว่าเดิม
ผลที่เกิดขึ้นคือ นักลงทุนก็จะได้พอร์ตการลงทุนที่กระจุกที่ตัวแดง และไม่เหลือกองดี ๆ ที่เคยเลือกไว้เลย เหลือเพียงความหวังเท่านั้น > พอร์ตพัง
แนวทางแก้ไข
3. ซื้อเพิ่มก็จริงแต่ไม่ใช่ด้วยอารมณ์ ใช้หลักการ Rebalance ช่วยซื้อ ปรับสัดส่วนตามกำหนด เช่น รายไตรมาส เดิมถือหุ้นจีน 20% ถ้าหุ้นจีนมันลงมาแรงมากนักเหลือ 15% การปรับสมดุลจะเป็นช้อนซื้อเติมเข้ามา โดยอัตโนมัติ ให้เต็ม 20% ขายตัวกำไรมานิดหน่อย แค่นั้น
ผล
> นักลงทุนจะได้พอร์ตที่ยังคงความสมดุลไว้ได้ แถมมีเวลากลับไปดูพื้นฐาน ปัจจัยลงทุน ทบทวนได้อีก สบายใจกว่ากันเยอะ
บทสรุป
ต้องยอมรับธรรมชาติข้อนึง คือ ลงทุนแล้วขาดทุนเป็นเรื่องปกติ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มันอยู่ที่การเดินหมากตาต่อไปต่างหาก ที่เป็นตัวตัดสิน (อย่าลืมว่าเราต้องอยู่ในตลาดให้ได้นานที่สุด Time in the market, not timing)
คุณไม่ได้อยู่คนเดียว จากประสบการณ์ Fund Manager ก็เห็นมืออาชีพเจ็บจาก Loss Aversion แบบนี้มานักต่อนัก เป็นกำลังใจให้ครับ
You must be logged in to post a comment.