ทำไมเราถึงทนถือขาดทุนได้นาน ? แถมยังถัวให้ช้ำไปอีก ?

ว่ากันด้วยเรื่อง Loss Aversion และทางแก้ไข

Loss Aversion คือพฤติกรรมของนักลงทุนแบบหนึ่ง ที่มักจะรู้สึกเจ็บจากการสูญเสีย (ขาดทุน) มากกว่า > การจะมีความสุขจากการได้รับ (กำไร) แม้ว่ามันจะมีมูลค่าตัวเงินเท่ากัน ก็ตามกำไรกองทุน 2,000 มันเฉยๆ เทียบไม่ได้เลยกับขาดทุน 2,000 โคตรกลุ้มจริงๆแล้วมาจาก สัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ที่แผงใน DNA มาตั้งแต่อดีตกาล (อ่า…โล่งอก รอดตัวไป) และมันก็ทำให้เผ่าพันธุ์เรายังรอดมาได้จนทุกวันนี้ รอดในการดำรงชีวิตอ่ะใช่ แต่อาจไม่เหมาะกับตลาดทุนเพราะยิ่งนักลงทุนที่เห็นการขาดทุนเป็นเรื่องน่าเจ็บใจมากเท่าไหร่ ก็จะทำทุกทางเพื่อปฏิเสธความรู้สึกนั้น คือไม่อยากยอมรับความจริง และมักจะนำไปสู่การตัดสินใจครั้งต่อไปที่ผิดพลาดมากขึ้น เช่น

– ถัวเพิ่มมันเลย เพราะอยากให้มันกลับไปเท่าทุนเร็ว ๆ ยิ่งลง ยิ่งซื้อ- ถัวแล้วลงต่อ เงินสดไม่มีละ ไปขายกองดีๆ ที่กำไรมาอีก (เพราะไม่อยากให้กองกำไร กลับมาเป็นขาดทุน จะเจ็บซ้ำสอง รีบขายดีกว่า)- ถัวจนหมด ก็จะแกล้งทำเป็นลืม ๆ ไป หวังว่าเดี๋ยวมันจะดีขึ้นเอง กลายเป็น VI เฉย

– แม้จะบอกว่าไม่สนใจ แต่หูจะฟังได้ยินแต่ข่าวร้าย กลุ้มหนักกว่าเดิม

ผลที่เกิดขึ้นคือ นักลงทุนก็จะได้พอร์ตการลงทุนที่กระจุกที่ตัวแดง และไม่เหลือกองดี ๆ ที่เคยเลือกไว้เลย เหลือเพียงความหวังเท่านั้น > พอร์ตพัง

แนวทางแก้ไข

1. ลดความกลุ้มใจ ใช้การจัดพอร์ตเข้าช่วย กระจายความเสี่ยง กระจายโอกาสการลงทุนไว้สัก 3 – 4 แนว กำหนดสัดส่วนเพื่อจำกัดความเสี่ยงเอาไว้ อันไหนเสี่ยงมากผันผวนมาก ก็สัดส่วนน้อยหน่อย อันไหน ขึ้นได้ เรื่อย ๆ ชิว ๆ ช้า ๆ ก็น้ำหนักมากหน่อย วันไหนไอ่ตัวจิ๊ดมันเทลงมาหนัก ๆ อย่างน้อยเราจะไม่กลุ้มมาก และมีเวลาคิด ตัดสินใจได้ดีขึ้นกว่าเดิม มีส่วนอื่นถ่วง ๆ อยู่
 
2. พอมีเวลาคิดมากขึ้น ก็ย้อนไปดูพื้นฐานมันว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เราคิดไว้ไหม ตรงนี้ก็ขอให้ยึดตาม Timeframe เดิมของเรานะ ไม่ใช่ ลงทุน 10 ปี แต่ไปดูกราฟ 10 นาที ตามข่าวพาดหัว ไม่เอานะ > ถ้าปัจจัยเปลี่ยนจริง ๆ ขาย ถ้าไม่เปลี่ยน ซื้อ ซื้อเท่าไหร่ ซื้อเมื่อไหร่ 
 

3. ซื้อเพิ่มก็จริงแต่ไม่ใช่ด้วยอารมณ์ ใช้หลักการ Rebalance ช่วยซื้อ ปรับสัดส่วนตามกำหนด เช่น รายไตรมาส เดิมถือหุ้นจีน 20% ถ้าหุ้นจีนมันลงมาแรงมากนักเหลือ 15% การปรับสมดุลจะเป็นช้อนซื้อเติมเข้ามา โดยอัตโนมัติ ให้เต็ม 20% ขายตัวกำไรมานิดหน่อย แค่นั้น

ผล

> นักลงทุนจะได้พอร์ตที่ยังคงความสมดุลไว้ได้ แถมมีเวลากลับไปดูพื้นฐาน ปัจจัยลงทุน ทบทวนได้อีก สบายใจกว่ากันเยอะ

บทสรุป

ต้องยอมรับธรรมชาติข้อนึง คือ ลงทุนแล้วขาดทุนเป็นเรื่องปกติ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มันอยู่ที่การเดินหมากตาต่อไปต่างหาก ที่เป็นตัวตัดสิน (อย่าลืมว่าเราต้องอยู่ในตลาดให้ได้นานที่สุด Time in the market, not timing)

คุณไม่ได้อยู่คนเดียว จากประสบการณ์ Fund Manager ก็เห็นมืออาชีพเจ็บจาก Loss Aversion แบบนี้มานักต่อนัก เป็นกำลังใจให้ครับ

Share On :

Discover more from

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Scroll to Top