Investment

การจัดพอร์ตแบบ 60/40 จากนี้ จะให้ผลตอบแทนได้สักเท่าไหร่


การจัดพอร์ตแบบ 60/40 จากนี้ จะให้ผลตอบแทนได้สักเท่าไหร่ ?

หากท่านยังไม่รู้จะจัดพอร์ตยังไง ให้เหมาะกับปี 2023 การผสมตราสารหนี้เข้ามา เป็นอีกกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจ มีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้

ต้องยอมรับว่าปี 2022 ถือว่าเป็นปีที่สภาวะลงทุนเป็นไปอย่างยากลำบาก และถือว่าสินทรัพย์ไม่ว่าเสี่ยงสูงหรือต่ำ ต่างพากันให้ผลตอบแทนแย่ที่สุดในรอบหลายสิบปีเลยทีเดียว 

กว่า 25 ปีที่นักลงทุน สามารถเอนจอยเลือกลงทุนทั้งหุ้นและหนี้ และได้ผลดีในด้านการกระจายความเสี่ยง 

แต่ด้วยผลกระทบของมหากาพย์ การผ่อนคลายทางการเงิน ที่ธนาคารกลางต่างใช้ดอกเบี้ยเป็นหหนึ่งในเครื่องมือ จัดการแก้วิกฤตการเงิน ปรับลดและขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเป็นว่าเล่น ส่งผลให้ในช่วงปี 2022 หุ้นโลกปรับตัวลงกว่า 20% ตราสารหนี้โลก ก็หลบไม่พ้น โดยปัจจัยเดียวกัน ปรับตัวลงกว่า 15-18 %

และถึงแม้จะพยายาม จัดพอร์ตกระจายควาเมสี่ยงแบบ 60/40 แล้ว ผลตอบแทนจะออกมาขาดทุน อยู่แถว ๆ -15% อยู่ดี ซึ่งในรอบกว่า 120  ปี มีเพียง 7 ปีเท่านั้น ที่จะขาดทุนได้ในระดับนี้

ที่ปี 2022 ขาดทุนหนักมาก สาเหตุคงไม่พ้นเรื่องของ เงินเฟ้อ และความขัดแย้งด้านการเมือง สงคราม แต่สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยง หรือมีเป้าหมายระยะยาว อาจจะมองเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนที่ดีได้ 

เมื่อลองพิจารณา แนวโน้มการลงทุน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (จากโมเดลของ UBS) พบว่าตลาด ณ ปัจจุบัน เป็นจุดที่การลงทุนมีความน่าสนใจมากกว่าเมื่อ 12 – 15 เดือนก่อนมาก โดยคาดว่า ผลตอบแทนที่คาดหวังสำหรับพอร์ต 60/40 อยู่ที่ 7.1% สูงขึ้นกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วง กลางปี 2021 

ราคาน่าคบหา … เมื่อเทียบกับสถานการณ์ เมื่อ 1 ปี ก่อนหน้า ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ ราคาตลาดของทั้งสินทรัพย์ลงทุนเช่น หุ้น กองทุนอสังหาฯ ตราสารหนี้ เทกระจาด ถูกลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันดอกเบี้ยเงินฝาก/ตราสารหนี้ ก็ปรับสูงขึ้น บนภาพของแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ ทำให้การลงทุนตอนนี้ เหมือนซื้อของเซลล์ ลดราคากระหน่ำ

ดอกเบี้ยปรับขึ้นยกแผง … ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน หุ้นกู้ ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ ผลจาก FED ขึ้นดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง ยกตัวอย่างกลุ่ม Global Investment Grade จากเดิมที่ให้ดอกอยู่แถว 0.50% ขึ้นมาเป็น 6.80% เลยทีเดียว ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดี ที่ทางเลือกในการจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง อย่างตราสารหนี้ จะกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างดีอีกครั้ง หลังจากยุคดอกเบี้ยต่ำยาวนาน

คาดหวังได้เท่าไหร่ ? ทาง UBS แบ่งเป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้น ขอสรุปง่ายเป็น 3 เคส

  1. Base Case เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ไม่ร้อนแรง ไม่เลวร้ายมาก พอร์ต 60/40 ให้ผลตอบแทน = 7.1%

  2. Best Case เงินเฟ้อต่ำ เศรษฐกิจโตมากกว่าค่าเฉลี่ย ผลตอบแทน = 10.1%

  3. Worst Case เงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจชะลอตัว ผลตอบแทน = -0.20%

ข่าวดีสำหรับนักลงทุนระยะยาว (ประมาณ 5 ปี) การย่อตัวลงในปี 2022 อาจเป็นเพื่อการกระโดดไปต่อในปี 2023 และปีต่อ ๆ ไป แต่ต้องระลึกไว้ว่า ความผันผวนยังคงอยู่ ภาวะเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน ผลตอบแทนคาดหวังยังมองได้เป็นแค่ช่วงกว้าง ๆ แต่หากพิจารณาในระยะยาวแล้ว ถือว่า ค่อนข้างสดใส มีโอกาสมากขึ้น



สรุป

กลยุทธ์ที่ดี คือ กระจาย ทาง UBS เชื่อว่า การจัดพอร์ตที่กระจายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก หุ้น และตราสารหนี้ เช่น Real asset (สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์) จะยิ่งช่วยให้พอร์ตมีเสถียรภาพมากขึ้น ทนทานต่อเงินเฟ้อในระดับสูง (กว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา) และต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 

ตั้งแต่จัดตั้ง Lief Selective Fund ผลตอบแทนเป็นอย่างไร


ตั้งแต่จัดตั้ง กลยุทธ์หุ้นไทย Lief Selective Fund ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ?

ในปีที่ภาวะการลงทุนทั่วโลกปั่นป่วน ด้วยปัจจัยความเสี่ยงที่ถาโถมเข้าหานักลงทุนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ปมสงครามขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน เงินเฟ้อที่พุ่งสูงเป็นทะลุสถิติในรอบ 40 ปี การปรับลดมาตรการผ่อนคลาย เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก เศรษฐกิจจีนที่แนวโน้มการฟื้นตัวยังเป็นไปอย่างยากลำบาก 

แต่ต้องยอมรับว่าท่ามกลางความผันผวนในหลายกลุ่มสินทรัพย์ หุ้นไทย ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดโดยเปรียบเทียบ หรือเรียกว่า ถ้าเจ็บก็เจ็บน้อยที่สุด ด้วยตั้งแต่ต้นปี ดัชนีหุ้น S&P500 สหรัฐ ฯ ปรับตัวลดลงกว่า -21.95% NASDAQ -33.89% แต่ SET Index ปรับตัวลงเพียง -1.40% เท่านั้น 

คำถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็ต้องยอมรับความจริงกันก่อนว่า ตอนที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวฟื้นขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ตลาดไทยไม่ได้ฟื้นตามเขาสักเท่าไหร่นัก (ณ จุดสูงสุดของดัชนี S&P500 ฟื้นตัวได้ประมาณ +75% ในขณะที่ดัชนี SET +45%) ประกอบกับในช่วงปี 2565 ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลกระทบต่อ Valutaion หุ้นกลุ่มเติบโต กลุ่มเทคโนโลยีมากกว่า หุ้นกลุ่ม Value และ Defensive มาก ประเทศไทยเองก็มีสัดส่วนกลุ่มพลังงานและธนาคารพาณิชย์เป็นอันดับต้น ๆ ความผันผวนจึงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด 

นอกจากปัจจัยในเชิงมหภาค (Top down) ที่สนับสนุนหุ้นไทยเป็นลมใต้ปีก ไม่ให้ลงหนักมากแล้ว การพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของหุ้น (Bottom up) ก็เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ สำหรับการเลือกลงทุน โดยเฉพาะการวิเคราะห์ งบการเงิน ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งกลยุทธ์ Lief Selective Fund คัดเลือกหุ้นไทยที่มีความโดดเด่นและต่อเนื่องด้านผลการดำเนินงาน พิจารณาย้อนหลัง 8 ไตรมาสเพื่อดูอัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลง เพื่อเฟ้นหาบริษัทที่แข็งแกร่ง ทนทาน อยู่รอด เหมาะสมกับการลงทุน 

โดยผลตอบแทนจริงตั้งแต่จัดตั้ง 10 มีนาคม - 31 ตุลาคม 2565 (เป็นระยะเวลา 8 เดือน)

Lief Selective (Balance) +7.20% และ Lief Selective (Growth) +8.10% ในขณะที่ SET Total Return Index -0.47% ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์วัดผลการดำเนินงานอยู่พอสมควร”

หมายเหตุ – ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้บ่งชี้ถึงผลตอบแทนในอนาคต / ผลตอบแทนจากการลงทุนจริง สุทธิค่าใช้จ่ายกองทุนทั้งหมดแล้ว / ผลการลงทุนในอนาคตอาจแตกต่าง หรือขาดทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ /การลงทุนมีความเสี่ยงนักลงทุนต้องศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์ทั้งในแง่ของความเสี่ยงและผลตอบแทนทุกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน

กลยุทธ์ Lief Selective Fund ลงทุนหุ้นไทย 100% (Fully Invest) ในลักษณะถือลงทุนระยะยาว (Buy & Hold) โดยมีการพิจารณาปรับพอร์ต รายไตรมาส โดยพิจารณาจากข้อมูลงบการเงินที่ประกาศออกมาในระหว่างช่วงปี ผ่านการคัดกรองด้วย Genetic Algorithm เฟ้นหาผู้ชนะอย่างแท้จริง หลังจากนั้นทางฝ่ายจัดการกองทุนจะนำผลลัพธ์ที่ได้ไปพิจารณา วิเคราะห์ปัจจัยเชิงคุณภาพอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคัดกรองบริษัทที่มีความเสี่ยงในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่นการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่ปกติ สภาพคล่อง ข่าวสาร หรือกลุ่มผู้บริหารที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนได้

Lief Selective Fund มีสองกลยุทธ์ คือ Lief Selective Balance เป็นการกระจายเงินลงทุนเท่า ๆ กันในหุ้น 25 ตัวที่ผ่านการคัดเลือกข้างต้นมาแล้ว และ Lief Selective Growth กระจายในหุ้นเพียง 10 ตัวเท่านั้น  เรียกว่านักลงทุนสามารถพิจารณาเลือกได้ ตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตนเองได้ 

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น นักลงทุนอาจลองพิจารณาจากตัวอย่างหลักทรัพย์ที่กลยุทธ์ Lief Selective เลือกลงทุนในอดีต ช่วงไตรมาสที่ 2 คัดเลือกจากข้อมูลงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2565 ดังนี้

หมายเหตุ : ตัวอย่างหลักทรัพย์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเท่านั้น ปัจจุบันกองทุนอาจมีหรือไม่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว

แน่นอนว่าในพอร์ตการลงทุน จะมีหลักทรัพย์ที่เราเลือกลงทุนและขาดทุนบางส่วน แต่โดยเฉลี่ยรวมแล้ว ด้วยหลักการ Buy and Hold ลดการซื้อขายตามอารมณ์หรือปัจจัยช่วงสั้น ประกอบกับกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ราคาตลาดจะค่อย ๆ สะท้อนความแข็งแกร่งในเชิงพื้นฐานของหุ้นที่ Lief Selective Fund เลือกลงทุนในแต่ละไตรมาส และสามารถสร้างการเติบโตของเงินลงทุนได้ในระยะยาว 

“คำถามที่ยังเหลืออยู่หากจะเลือกลงทุนในหุ้นไทย คือ อนาคตและศักยภาพการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย จะยังสามารถยืนหยัดต่อสู้บนเวทีโลกได้หรือไม่ ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วขึ้นทุกที”

ส่องโอกาสลงทุน "หุ้นไทย ได้ไปต่อ?" - Exclusive seminar

✨วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-12.00น.
✨เหมาะสำหรับนักลงทุนหุ้นไทยที่อยากหา Solution เพื่อตอบโจทย์การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว

เราจึงอยากเชิญชวนท่านมาหาคำตอบร่วมกัน กับงานเสวนา ส่องโอกาสลงทุน “หุ้นไทย ได้ไปต่อ?”

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9:00-12:00 พบกันที่ KX Knowledge Exchange (400 เมตร จาก BTS วงเวียนใหญ่ )

พบกับวิทยากรรับเชิญพิเศษ รศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ, อดีตกรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในหัวข้อ : “โอกาสเติบโตของไทย” บนเวทีโลกในยุคดิจิทัล รวมถึงเจาะลึกกลยุทธ์ Lief Selective Fund โดยทีมผู้ร่วมพัฒนาเครื่องมือ คัดเลือกการลงทุน คุณ ธานินทร์ แซมมณี, CEO& CO-Founder, Deepscope สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่ : https://bit.ly/3fpftKE

Share On :

FED ทำ QT ! มันแต่ต่างจาก QE อย่างไร


FED ทำ QT มันแตกต่างจาก QE ยังไง ?

"Quantitative Tightening"

🤓 วันนี้เราพูดถึงการที่ Fed จะทำ QT ว่ามันคืออะไรแล้วมันจะมีผลยังไงบ้าง

 คืออะไร

🏦 QT ก็คือกลับกันคือเป็นการลดปริมาณเงินที่อยู่ในระบบ โดยวิธีการเช่นไม่เอาเงินที่ได้มาจากหลักทรัพย์ที่ซื้อกลับไปซื้อหลักทรัพย์อื่นต่อ หรืออาจจะถึงขั้นขายหลักทรัพย์ออกมา พอเงินออกจากระบบเศรษฐกิจไปเยอะๆ ธนาคารพาณิชย์ก็จะมีเงินสดอยู่น้อยลงพร้อมจะปล่อยสินเชื่อน้อยลง พอเป็นแบบนั้นอัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้น คนก็มีแนวโน้มจะกู้ยืมเงินเพื่อบริโภคหรือลงทุนน้อยลง

💡 อย่างตอนนี้ให้ดูเล่นๆว่า QE ที่ทำไปช่วงก่อนมันเยอะขนาดไหน จะเห็นว่าการอัดฉีดสภาพคล่องด้วย QE ที่ผ่านมาตอนโควิดกระโดดจากที่มีอยู่เดิม 4 trillion มาเป็นสูงกว่า 8 trillion ทีเดียว

 แล้วจะมีผลยังไง

ก็อย่างที่เพิ่งพูดไป มันก็จะทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจลดลง ธนาคารปล่อยกู้ด้วยดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การบริโภคกับการลงทุนก็ควรจะลดลง

หลักทรัพย์ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงก็จะเป็นพวกตราสารหนี้แหละ ผลเหมือนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed เลยครับ bond yield สูงขึ้น ราคาของตราสารหนี้ตก

🤓 มุมมองเราที่มีต่อ QT ก็เหมือนกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลยครับ เราไม่คิดว่ามันเลวร้ายนะ เพราะที่ผ่านมาตอนมีวิกฤติช่วงโควิดเค้าทำ QE เพิ่มเงินเข้ามาในระบบเยอะมาก ตอนนี้ทำ QT เพื่อลดให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติก็น่าจะถูกต้องแล้ว บวกกับเค้าก็พยายามจะจัดการกับเงินเฟ้อที่สูงอยู่ดังนั้นก็ยิ่งเหมาะสมเข้าไปใหญ่

บทสรุป

QT (Quantitative Tightening)  เป็นการดึงเงินออกจากระบบทำให้สภาพคล่องลดลง เหตุผลก็คือ ชะลอเศรษฐกิจลงและหยุดเงินเฟ้อส่วน QE (Quantitative Easing)  เป็นการเพิ่มเงินเข้าระบบทำให้ระบบมีสภาพคล่องเพิ่ม เหตุผลก็คือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  เรามองว่า QT รอบนี้ เหมาะสมเพราะว่าเป็นการขึ้นสู้กับเงินเฟ้อและลดเงินที่ฉีดเข้าระบบไปรอบก่อน

Share On :