หลังเกษียณมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะเพียงพอจริงหรือ?

INSIGHT

Lief capital Asset Management

หลังเกษียณมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะเพียงพอจริงหรือ?

Debt Ceiling Debate: Examining Risks Around the X Date

สรุปค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

การที่จะทราบได้ว่าเราต้องมีเงินหลังเกษียณจำนวนเท่าไร เราต้องทราบก่อนว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ใช้ในช่วงหลังเกษียณ ซึ่งโดยพื้นฐานหลัก ๆ ทุกคนก็จะมีค่าใช้จ่ายคล้าย ๆ กัน และมีสิ่งที่แตกต่างตามกิจกรรมที่ทำ

ค่าใช้จ่ายแบ่งได้หลัก ๆ 5 กลุ่ม คือ
1. ค่าใช้จ่ายประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ของใช้ภายในบ้าน
2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ อินเทอร์เน็ต การซ่อมแซม
3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น ค่าน้ำมัน ค่าโดยสารรถสาธารณะ ทางด่วน ค่าบำรุงรักษารถยนต์
4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ อาหารเสริม การตรวจสุขภาพ
5. ค่าใช้จ่ายเพื่อนันทนาการ เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อน การท่องเที่ยว สังสรรค์ เงินบริจาคต่าง ๆ

และจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจจะไม่ได้ต้องใช้ทุกคน คือ ค่าใช้จ่ายดูแลผู้อยู่ในอุปการะ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตรหลานหรือค่าใช้จ่ายดูแลผู้ปกครองในแต่ละเดือน เป็นต้น และค่าจ้างคนดูแล เนื่องจากบางคนไม่มีบุตรหลานดูแลหรือต้องการที่จะอยู่คนเดียว เมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือดูแลตัวเองไม่ไหว ก็อาจจะต้องจ้างคนเพื่อมาดูแลตนเอง

ในช่วงหลังเกษียณ ค่าใช้จ่ายแต่ละกลุ่มจะมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง แต่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน หลัก ๆ เลย คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เนื่องจากเมื่อเราเกษียณอายุ เราก็จะอยู่บ้านมากขึ้น ออกไปข้างนอกน้อยลง ค่าไฟ ค่าน้ำก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ เมื่อเราอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพก็จะมากขึ้น การเจ็บป่วย โรคภัยต่าง ๆ เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพก็จะเพิ่มสูงขึ้น

โดยหลักในการคำนวณค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่า Replacement Ratio คือ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน่าจะมีประมาณ 50-80% ของค่าใช้จ่ายช่วงก่อนเกษียณ* เช่น ถ้าเราคาดว่าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะอยู่ที่ 80% ของค่าใช้จ่ายช่วงก่อนเกษียณ คือ ค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณอยู่ที่ประมาณ 240,000 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 240,000×80% = 192,000 บาท/ปี เป็นต้น

ตัวอย่างปริมาณค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณและหลังเกษียณ

ซึ่งถึงแม้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณโดยประมาณจะน้อยลงกว่าค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณก็ตาม แต่ที่จำเป็นต้องคิดเข้าไปเพิ่มนั่นคือ เงินเฟ้อ เพราะในอนาคตเราไม่อาจประมาณการได้อย่างแน่นอนว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นหรือลดลง ซึ่งถ้าหากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จะส่งผลให้จำนวนเงินที่วางแผน ณ ปัจจุบันอาจจะไม่เพียงพอกับเงินที่ต้องใช้ในอนาคต


โดยสรุป : ดังนั้นเราควรออมเงินให้สูงกว่าที่คาดการณ์รายจ่ายหลังเกษียณเท่าที่เป็นไปได้ เพราะในอนาคตไม่มีอะไรแน่นอน และรายได้ของเราก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ และจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าหลังเกษียณจะมีเงินไว้ใช้จ่ายตามที่ต้องการหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมนั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/331-10-checklists-of-retirement-expenses

*บทความสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือคำเสนอสินค้าและบริการทางการเงินการลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

หลังเกษียณมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะเพียงพอจริงหรือ? Read More »

U.S. แพงไป ยังเสี่ยง Recession หนีไป Global ดีกว่า I The Shortlist Poll

INSIGHT

Lief capital Asset Management

U.S. แพงไป ยังเสี่ยง Recession หนีไป Global ดีกว่า

Debt Ceiling Debate: Examining Risks Around the X Date

สรุปประเด็นสำคัญ

Amundi เชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงที่จะชะลอตัว อาจจะมากถึงการ Recession ได้เลย จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะต้องคงดอกเบี้ยต่อไป โดยจะมีการปรับลดก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจเริ่มจะชะลอตัวแล้ว ทำให้ Amundi มองว่า โอกาสในสหรัฐฯ นั้น ค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับกลุ่มหุ้นยุโรป ญี่ปุ่น และ EAFE นั้นดูทำได้ดีกว่าหุ้นสหรัฐฯ กลุ่มนี้ยังคงเติบโตไปได้ต่ออีก สวนทางกับฝั่งของสหรัฐฯ ที่ต้องรับมือเงินเฟ้อในระดับสูงและการขาดดุลงบประมาณ เชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเกิด Recession แบบ Hard Landing ซึ่งเป็นผลจากดอกเบี้ยในระดับที่สูง
 
เมื่อลองดูที่ Valuation นั้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้นจัดว่าอยู่ในระดับที่แพง เมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ ยิ่งมองให้ลึกไปที่กลุ่ม Mega Cap เทียบหุ้นสหรัฐฯ ด้วยกันเองยังแพงกว่าถึง 50% ซึ่งตรงนี้มองว่า Valuation นั้นไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก ถึงแม้บริษัทนั้น จะยังมีความแข็งแกร่ง แต่ด้วย Valuation ที่แพงไปเลือกกลุ่มนอกสหรัฐฯ จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
 
โดยตลาดที่ Amundi แนะนำจะเป็นหุ้นญี่ปุ่น จาก Valuation ที่ไม่แพง บริษัทมีความแข็งแกร่ง จ่ายปันผลได้เยอะและสม่ำเสมอ อีกตลาดคือ หุ้นยุโรป โดยมองว่าสถานการณ์ทางการเงินของยุโรปนั้นดูแข็งแกร่งมากกว่าสหรัฐฯ และ Valuation ที่แพงของสหรัฐฯ ดูเสี่ยงที่จะก่อตัวเป็นฟองสบู่ได้ เทียบกับของฝั่งยุโรปที่ยังถูกอยู่และสามารถจ่ายปันผลได้สูงกว่าหุ้นสหรัฐฯ มองว่า 2 ตลาดนี้จะเป็นโอกาสที่ดีให้กับนักลงทุนได้


โดยสรุป : Amundi มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นมีโอกาสชะลอตัวได้อย่างยาวนาน ผลจากการขึ้นดอกเบี้ยในระดับที่สูง อีกทั้ง Valuation ที่แพง ทำให้มองว่าการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดญี่ปุ่นและยุโรป ที่ Valuation นั้นยังถูกกว่าและสามารถจ่ายปันผลได้สูงกว่านั้น จะเป็น 1 ในทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตได้

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.pimco.com/gbl/en/insights/debt-ceiling-debate-examining-risks-around-the-x-date

*บทความสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือคำเสนอสินค้าและบริการทางการเงินการลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

รับชมวีดีโอได้ที่นี้

U.S. แพงไป ยังเสี่ยง Recession หนีไป Global ดีกว่า I The Shortlist Poll Read More »

FED หยุดขึ้นดอกเบี้ยได้หรือยัง ? I the shortlist Poll

INSIGHT

Lief capital Asset Management

FED หยุดขึ้นดอกเบี้ยได้หรือยัง ?

Debt Ceiling Debate: Examining Risks Around the X Date

สรุปประเด็นสำคัญ

จากข้อมูลสำคัญของเศรษฐกิจอย่าง อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศทางตะวันตกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งประเทศจีน ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจจัดว่ามีการเติบโตได้น้อยลง แต่ไม่ถึงกับติดลบ ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยง ความเชื่อมั่นของตลาดเริ่มกลับมา ด้วยปัจจัยรอบข้างที่สนุนเช่นนี้ ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ควรจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยได้แล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม FED ยังคงไม่นิ่งนอนใจในสถานการณ์มากนัก อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากช่วง Covid-19 ยังคงเป็นบทเรียนชิ้นใหญ่ของ FED มองว่าจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับที่สูงและนานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นมองว่ายังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้ เพื่อรอดูผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา ซึ่งถ้าหากเงินเฟ้อยังคงลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง โอกาสในการเกิด Recession นั้นก็จะสูงมากขึ้นตามเช่นกัน โดย Invesco ยังคงชอบเป็นตราสารหนี้กลุ่ม DM จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงจนน่าสนใจ


ดยสรุป : จากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจยังคงเติบโตได้บ้างเล็กน้อย ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังการหยุดขึ้นดอกเบี้ยของ FED แต่อย่างไรก็ตาม FED นั้นยังคงมีท่าทีตึงตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับมือกับเงินเฟ้อได้อยู่จริงๆ มองว่า FED จะมีการหยุดการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรอดูผลกระทบอีกสักพัก ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยมองว่ายังต้องใช้เวลาสักพัก
ใหญ่ ซึ่งถ้าหากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ โอกาสในการเกิด Recession ก็จะสูงตามเช่น Invesco ยังคงชอบเป็นเป็น ตราสารหนี้กลุ่มประเทศ DM จากอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.pimco.com/gbl/en/insights/debt-ceiling-debate-examining-risks-around-the-x-date

*บทความสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือคำเสนอสินค้าและบริการทางการเงินการลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

รับชมรายการเต็มได้ที่

FED หยุดขึ้นดอกเบี้ยได้หรือยัง ? I the shortlist Poll Read More »

Scroll to Top