INSIGHT

Lief capital Asset Management

หลังเกษียณมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะเพียงพอจริงหรือ?

Debt Ceiling Debate: Examining Risks Around the X Date

สรุปค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

การที่จะทราบได้ว่าเราต้องมีเงินหลังเกษียณจำนวนเท่าไร เราต้องทราบก่อนว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ใช้ในช่วงหลังเกษียณ ซึ่งโดยพื้นฐานหลัก ๆ ทุกคนก็จะมีค่าใช้จ่ายคล้าย ๆ กัน และมีสิ่งที่แตกต่างตามกิจกรรมที่ทำ

ค่าใช้จ่ายแบ่งได้หลัก ๆ 5 กลุ่ม คือ
1. ค่าใช้จ่ายประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ของใช้ภายในบ้าน
2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ อินเทอร์เน็ต การซ่อมแซม
3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น ค่าน้ำมัน ค่าโดยสารรถสาธารณะ ทางด่วน ค่าบำรุงรักษารถยนต์
4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ อาหารเสริม การตรวจสุขภาพ
5. ค่าใช้จ่ายเพื่อนันทนาการ เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อน การท่องเที่ยว สังสรรค์ เงินบริจาคต่าง ๆ

และจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจจะไม่ได้ต้องใช้ทุกคน คือ ค่าใช้จ่ายดูแลผู้อยู่ในอุปการะ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตรหลานหรือค่าใช้จ่ายดูแลผู้ปกครองในแต่ละเดือน เป็นต้น และค่าจ้างคนดูแล เนื่องจากบางคนไม่มีบุตรหลานดูแลหรือต้องการที่จะอยู่คนเดียว เมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือดูแลตัวเองไม่ไหว ก็อาจจะต้องจ้างคนเพื่อมาดูแลตนเอง

ในช่วงหลังเกษียณ ค่าใช้จ่ายแต่ละกลุ่มจะมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง แต่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน หลัก ๆ เลย คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เนื่องจากเมื่อเราเกษียณอายุ เราก็จะอยู่บ้านมากขึ้น ออกไปข้างนอกน้อยลง ค่าไฟ ค่าน้ำก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ เมื่อเราอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพก็จะมากขึ้น การเจ็บป่วย โรคภัยต่าง ๆ เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพก็จะเพิ่มสูงขึ้น

โดยหลักในการคำนวณค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่า Replacement Ratio คือ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน่าจะมีประมาณ 50-80% ของค่าใช้จ่ายช่วงก่อนเกษียณ* เช่น ถ้าเราคาดว่าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะอยู่ที่ 80% ของค่าใช้จ่ายช่วงก่อนเกษียณ คือ ค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณอยู่ที่ประมาณ 240,000 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 240,000×80% = 192,000 บาท/ปี เป็นต้น

ตัวอย่างปริมาณค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณและหลังเกษียณ

ซึ่งถึงแม้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณโดยประมาณจะน้อยลงกว่าค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณก็ตาม แต่ที่จำเป็นต้องคิดเข้าไปเพิ่มนั่นคือ เงินเฟ้อ เพราะในอนาคตเราไม่อาจประมาณการได้อย่างแน่นอนว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นหรือลดลง ซึ่งถ้าหากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จะส่งผลให้จำนวนเงินที่วางแผน ณ ปัจจุบันอาจจะไม่เพียงพอกับเงินที่ต้องใช้ในอนาคต


โดยสรุป : ดังนั้นเราควรออมเงินให้สูงกว่าที่คาดการณ์รายจ่ายหลังเกษียณเท่าที่เป็นไปได้ เพราะในอนาคตไม่มีอะไรแน่นอน และรายได้ของเราก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ และจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าหลังเกษียณจะมีเงินไว้ใช้จ่ายตามที่ต้องการหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมนั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/331-10-checklists-of-retirement-expenses

*บทความสรุปเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือคำเสนอสินค้าและบริการทางการเงินการลงทุน นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

Discover more from

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Scroll to Top